การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบ M - Learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ธมลวรรณ การัดเสนา
ณัฏฐชัย จันทชุม
วนิดา ผาระนัด

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบ M-Learning ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบ M – Learning ก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบ M – Learning กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 38 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ Dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบ M - Learning มีประสิทธิภาพเท่ากับ 74.55/72.37 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบ M – Learning หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบ M – Learning โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะ 1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบ M - Learning ในช่วงแรก ๆ นักเรียนยังไม่สามารถแบ่งหน้าที่และให้ความร่วมมือของแต่ละคนในกลุ่มได้ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ครูผู้สอนควรเริ่มต้นจากการชี้แจงวัตถุประสงค์และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อความสำเร็จของทีมให้ชัดเจน ตลอดจนการแจ้งเกณฑ์การให้คะแนนเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม ให้นักเรียนเข้าใจก่อนการดำเนินการจัดการเรียนรู้ 2) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบ M - Learning มีข้อจำกัดเรื่องเวลา ดังนั้น ครูผู้สอนอาจยืดหยุ่นเวลาที่ใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสม โดยให้นักเรียนปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการที่กำหนดให้จนเสร็จสิ้นเป็นสำคัญเพื่อให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์   คำสำคัญ : การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD, M - Learning, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์  ABSTRACT This research has objectives to 1) develop collaborative learning with STAD technique together with M-Learning to be effective according to criteria 70/70, 2) compare mathematics achievement using collaborative learning with STAD technique together with M-Learning before and after learning and 3) study the satisfaction of students with studying mathematics using collaborative learning STAD technique together with M – Learning. The samples are Mathayomsuksa 1/8 students, Yang Talat Wittayakarn School, Semester 2, Academic Year 2020, using Cluster Random Sampling technique. The research instruments were 1) a learning management plan, 2) a mathematics learning achievement test, 3) a satisfaction questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and the dependent t-test. The results of the research showed that 1) the learning management plan in cooperation with STAD technique together with M-Learning was as effective as 74.55 / 72.37 according to the specified criteria, 2) student achievement using collaborative learning with STAD technique together with M-Learning was significantly higher than before at the .05 level, 3) The overall satisfaction of students towards learning management using STAD technique together with M-Learning was the highest Suggestions 1) learning management using cooperative learning model STAD Technique assemble M-Learning. In the beginning, students are unable to divide the duties and cooperation of each person in the group as well as they should. Therefore, teachers should begin by explain the objectives and helping each other clearly for the success of the team. Moreover, informing scoring criteria individual and group for students to understand before learning management. 2) learning management using cooperative learning model STAD Technique assemble M-Learning have a time constraint. Therefore, teachers may use flexible time to organize appropriate learning. Then, allow students to practice learning management according to the specified steps until the completion of the students to achieve the objective.   Keywords: STAD technique co-operation group learning activities, M - Learning, Development mathematics achievement

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
การัดเสนา ธ., จันทชุม ณ., & ผาระนัด ว. (2022). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบ M - Learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 94–112. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13495
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)