การพัฒนาหลักสูตรประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

นาถยา แก้วเมฆ
สุพจน์ เกิดสุวรรณ์
สุดาพร พงษ์พิษณุ
วลัยพรรณ บุญมี

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้ คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร           4) ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบโดยการทดสอบค่าทีแบบ dependent  t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานโดยการสอบถามและการสัมภาษณ์จากผู้ที่เกี่ยวข้องมีความต้องการที่จะให้พัฒนาหลักสูตรประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ    2) การพัฒนาหลักสูตรมีความสอดคล้องและเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 3) เมื่อนำหลักสูตรไปทดลองใช้นักเรียนมีความสนใจในการเรียน ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรม และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าความพึงพอใจต่อหลักสูตรอยู่ใน ระดับมาก 4) การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร พบว่า หลักสูตรมีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น ควรปรับเรื่องระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมากขึ้นให้เหมาะสมกับเนื้อหา คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตร, ประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ  ABSTRACT The purpose of this research was to develop The Curriculum Development on Custom and Tradition of Thaisongdum Learning Area of Social Studies Religion and Culture for Fifth Grade Student in Suphanburi Province. The development consisted of 1) studying basic information, 2) developing the curriculum, 3) trailing the curriculum and 4) evaluating and improving the curriculum. The sample was 20 Prathomsuksa 5 students during the second semester of the academic year of 2020 from Ban Bang Kung School, in Mueang District, Suphanburi Province. The sample obtained using a cluster random sampling. The research instrument included: 1) The curriculum Development on Custom and Tradition of Thaisongdum”, 2) a learning achievement last to a reliability of 0.867, 3) a evaluation on satisfaction towards the curriculum content. The data were analyzed in terms of frequency, percentage, mean, standard deviation, dependent t-test and content analysis. The findings of this research were. The curriculum evaluation by using the achievement test showed significantly after the curriculum implementation the students score was higher than that before the implementation (p<0.05), the results confirmed their satisfaction towards that curriculum was rated at the high level. 4) Evaluating and improving the curriculum, found that the results confirmed appropriate to the context. But optimized duration in the activities to the curriculum. Keywords: The curriculum development, Custom and Tradition of Thaisongdum 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แก้วเมฆ น., เกิดสุวรรณ์ ส., พงษ์พิษณุ ส., & บุญมี ว. (2022). การพัฒนาหลักสูตรประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 48–63. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13456
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)