อิทธิพลของศักยภาพผู้นำชุมชนและการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • เจษฎา ความคุ้นเคย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เบญญา พึ่งโพธิ์ ธนาคารออมสิน สาขาภาชี
  • เบญญาภา พึ่งโพธิ์ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

ศักยภาพผู้นำชุมชน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของศักยภาพผู้นำชุมชนและการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ศึกษาอิทธิพลของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติมีอิทธิพลในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ประกอบด้วย ตัวแปรเกณฑ์ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ ศักยภาพผู้นำ และการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ ประชากร ได้แก่ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2554 จำนวน 1,756 หมู่บ้าน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ใช้สูตรของยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 326 หมู่บ้าน การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน ระดับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ การประเมินศักยภาพผู้นำชุมชน และผลการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัย พบว่า ผู้นำชุมชนมีศักยภาพอยู่ในระดับมาก หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบมีระดับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก โดยการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านความพอประมาณไปปฏิบัติสูงสุด หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอมีพอกิน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ศักยภาพผู้นำชุมชนมีอิทธิพลทางตรงต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ คิดเป็นร้อยละ 47 ศักยภาพผู้นำชุมชนไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ แต่ศักยภาพผู้นำชุมชนมีอิทธิพลทางอ้อมโดยผ่านการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 3 การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ คิดเป็นร้อยละ 7 และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 62.904 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 47 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.060 ไค-สแควร์สัมพันธ์ (chi-square/ df) เท่ากับ 1.338 ค่าดัชนีวัดระดับ ความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ .969 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .948 ค่าเปรียบเทียบสัดส่วนที่ปรับให้ดีขึ้น (CFI) เท่ากับ .992 ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือ (RMR) เท่ากับ .024 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน (RMSEA) เท่ากับ .032

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

26-09-2014

How to Cite

ความคุ้นเคย เ., ชิณพงษ์ ป., พึ่งโพธิ์ เ., & พึ่งโพธิ์ เ. (2014). อิทธิพลของศักยภาพผู้นำชุมชนและการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ: Srinakharinwirot Business Journal, 5(1), 1–24. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/4638