ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี
FACTORS AFFECTING THE SUCCESS OF ANNUAL BUDGET DISBURSEMENT DOCUMENT REVIEW
Keywords:
ผู้ตรวจสอบเอกสารตามส่วนงาน ความสำเร็จของการตรวจเอกสาร เอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี และ 3) เพื่อนำผลการศึกษามาใช้เป็นข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในกรณีที่ผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ตรวจสอบเอกสารตามส่วนงาน และบุคลากรส่วนการคลัง ซึ่งปฏิบัติงานด้านพัสดุ ด้านการเงินและบัญชี จำนวน 166 คน ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance หรือ ANOVA) และการหา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี โดยรวมแล้วระดับความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี ได้แก่ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน การวางแผนการปฏิบัติงาน ทักษะความชำนาญงาน ทักษะความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน และทักษะด้านระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และ 3) ในช่วงที่มีโรคระบาดทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ตามแผนงานที่วางไว้ทุกหน่วยงานควรบริหารจัดการการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสม ควรมีการกำหนดกฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนอย่างชัดเจนไปในทิศทางเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย และควรมีมาตรการในการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย รวมถึงมีการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที โดยมีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันและมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยประสานให้รวดเร็วขึ้นDownloads
References
กมลทิพย์ คงสวัสดิ์พร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ
ของกรมที่ดิน. วารสารรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(2), 77-88.
ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธัญญาลักษณ์ สิงห์แก้ว. (2560). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตลาดพร้าวกรุงเทพ
มหานคร. วิทยานิพนธ์ การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นันทนา ศรีชัยมูล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2564). ศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายที่ปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชี
และการพัสดุ. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565, จาก Retrieved from https://www.swu.ac.th/
รชิตา วรัตถ์ธนพิตญ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของสำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
รัตติยา สัจจภิรมย์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัชระ สะท้อนดี. (2559). ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุชาดา กนกชัชวาล. (2564). การพัฒนาระบบการเบิกจ่ายตามมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(2), 43-57.
Amalia, A. P. (2021). Education Budget Management, New Public Management, and the COVID-19 Pandemic. Dinamika Pendidikan, 16(1), 1-11.
John D. Millet. (1954). Management in the Public Service. New York: Mc Graw Hill Book, Company
Drucker, Peter F. (2005). The Effective Executive in Action. Australia: Wadsworth.
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความจากงานวิจัย บทความทางวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือทางบริหารธุรกิจ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของศูนย์การจัดการหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ