ความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานรายงานทางการเงินไทย ของนิสิตหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ THE PERCEPTION OF UNDERGRADUATE ACCOUNTING STUDENTS TOWARDS THAI FINANCIAL REPORTING STANDARDS CASE STUDY IN SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY
Keywords:
ความรู้ความเข้าใจ มาตรฐานรายงานทางการเงินไทย หลักสูตรบัญชีบัณฑิตAbstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานรายงานทางการเงินไทย ของนิสิตหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล กับระดับความรู้ ความเข้าใจ ของนิสิตหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยใช้วิธีเชิงปริมาณ และเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง โดยการแจกแบบสอบถามแก่นิสิตหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปี 3 และชั้นปี 4 จำนวน 130 คน ผลการวิจัย พบว่า นิสิตหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลแตกต่างกัน ประกอบด้วย เพศ ระดับการศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสม ประสบการณ์การฝึกงาน การเข้าฝึกอบรม ด้านมาตรฐานรายงานทางการเงินไทย และการเรียนเกี่ยวกับรายวิชาที่มีมาตรฐานรายงานทางการเงินไทย (Thai Financial Reporting Standard: TFRS) มีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานรายงานทางการเงินไทยในแต่ละด้าน ประกอบด้วย ด้านด้านกฎเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติทางการบัญชี ด้านการพัฒนา ด้านข้อมูล ด้านความใส่ใจ แตกต่างกัน ระดับความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานรายงานทางการเงินไทย ด้านกฎเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติทางการบัญชี ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานรายงานทางการเงินไทย ด้านกฎเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติทางการบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่เป็นหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไป มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ข้อที่เป็นข้อมูลทางบัญชีที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ต่อผู้ใช้งบการเงิน ข้อที่เป็นเป็นหลักปฏิบัติทางการบัญชีให้เป็นแนวทางเดียวกันภายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง และข้อที่มีการพัฒนาอย่างเหมาะสมภายใต้สภาวะที่เปลี่ยนแปลง ตามลำดับ ด้านการพัฒนา ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานรายงานทางการเงินไทย ด้านการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อพัฒนามาจากมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS) มาเป็นมาตรฐานการบัญชีไทย (Thai Accounting Standard: TAS) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ข้อที่เป็นการพัฒนามาจากมาตรฐานรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS) มาเป็นมาตรฐานรายงานทางการเงินไทย (TFRS) ข้อที่เป็นการพัฒนามาจาก AICPA และข้อที่เป็นมาตรฐานรายงานทางการเงินไทยจะก้าวสู่ความเป็นสากลเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2562 ตามลำดับ ด้านข้อมูล ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานรายงานทางการเงินไทย ด้านข้อมูล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อมาตรฐานการบัญชีควรสะท้อนภาพของกิจการได้อย่างเหมาะสมมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ รองลงมาได้แก่ ข้อที่เป็นมาตรฐานการบัญชีควรมีความยืดหยุ่น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับกิจการได้อย่างเหมาะสม ข้อที่เป็นมาตรฐานการบัญชีควรมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน และข้อมาตรฐานการบัญชีควรมีการพัฒนาและปรับปรุง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ตามลำดับ ด้านความใส่ใจ ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานรายงานทางการเงินไทย ด้านความใส่ใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความกระตือรือร้นในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายวิชามาตรฐานรายงานทางการเงินไทย (Thai Accounting Standard: TAS) มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ข้อที่มีการทบทวนบทเรียนหลังจากเรียนจบคลาสในแต่ละครั้ง ข้อที่มีการติดตามข่าวสารจากสภาวิชาชีพบัญชีเกี่ยวกับมาตรฐานรายงานทางการเงินอย่างต่อเนื่อง และข้อที่มีการเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานรายงานทางการเงิน มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ