เกมบัตรสำหรับการจัดการเรียนรู้เรื่องธาตุและสารประกอบ

Main Article Content

กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา

Abstract

Card Games for Teaching Elements and Compounds
 
Karntarat Wuttisela
 
รับบทความ: 17 กรกฎาคม 2554; ยอมรับตีพิมพ์: 15 ตุลาคม 2554
 
บทคัดย่อ
สำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ที่ต้องเริ่มเรียนวิชาเคมีเรื่องธาตุและสารประกอบ เกมเป็นทางเลือกของสื่อการเรียนรู้ที่จะทำให้นักศึกษาเรียนเนื้อหานี้ด้วยความสนุกสนาน เกมบัตร 3 เกม ได้แก่ ‘ELEMENTS’ ‘GO CHEMISTRY’ และ ‘CHEMANTICS’ สามารถใช้นำเข้าสู่บทเรียนหรือทบทวนเนื้อหานี้ได้ เกมที่ 1 ELEMENTS นักศึกษาต้องจับคู่ชื่อธาตุและสัญลักษณ์ธาตุ เกมที่ 2 GO CHEMISTRY นักศึกษานำธาตุมาสร้างเป็นสูตรเคมีของสารประกอบ และเกมที่ 3 CHEMANTICS นักศึกษาจะได้คะแนนเมื่อสร้างสูตรเคมีของสารประกอบและอ่านชื่อของสารประกอบได้ถูกต้อง โดยนักศึกษากลุ่มละ 4 คนแข่งขันเป็นรายบุคคล อุปกรณ์หลักในการเล่นเกมคือบัตรที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเกม สำหรับกติกาการเล่นดัดแปลงมาจากเกมบัตรทั่วไป เช่น บัตรจับคู่ การเล่นเกมหลายรอบเป็นความท้าทายเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาจำธาตุและสารประกอบได้ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการในห้องเรียนสำหรับอาจารย์ที่เริ่มนำเกมบัตรไปใช้
คำสำคัญ: เกมบัตร วิชาเคมี ธาตุและสารประกอบ
 
Abstract
The first-year science students need to initially learn about the chemistry concepts of elements and compounds. Game is a choice to use as a learning media to make these concepts enjoyable for students. Three card games, ‘ELEMENTS’, ‘GO CHEMISTRY’, and ‘CHEMANTICS’, are served as an introduction or review of the concepts. The ‘ELEMENTS’ card game requires students to match name and symbol of chemical elements. Students put particles together to get score in the ‘GO CHEMISTRY’ card game. In addition, a card game called ‘CHEMANTICS’ earn point by using cards to correctly form formulas for compounds as well as naming the compounds. Individual student in a group (4 students each) takes competition with others. Cards are main supplies corresponding to the game objectives.  The rules of the games are mostly modified from its traditional playing cards, e.g. a matching game.  Repeating of the games is a challenge to stimulate students memorising the elements and compounds.  The students’ additional suggesting will be used to assist novice teachers’ class management.
Keywords: Card game, Chemistry, Elements and compounds

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์. (2534). พูดได้-พูดเป็น. กรุงเทพฯ: ก้องหล้า.

ธนวรรณ ทาระพันธ์ พรรณี ประยุง วราภรณ์ ถิรสิริ และมาร์ก วินเดล. (2550). การใช้เกมในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

ปราณี ทองคำ. (2546). เกมประกอบการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สมหวัง วิทยาปัญญานนท์. (2547). เพลินเล่นเรียนแนวคิดใหม่แห่งการเรียนรู้. http://www.budmgt.com/ budman/bm01/plearn.html สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554.

Angelin, M., and Ramstrom, O. (2010). Where's Ester? A Game that seeks the structures hiding behind the trivial names. J. Chem. Educ. 87(4): 406–407.

Costa, M. J. (2007). CARBOHYDECK: A card game to teach the stereochemistry of carbohydrates. J. Chem. Educ. 84(6): 977–978.

Griffin, L. L., and Butler, J. I. (2005). Teaching games for understanding: theory, research, and practice human kinetics. Retrieved October 29, 2008, from http://books.google.ca/books? id=3OmCjmk-MEoC&printsec=frontcover

Morris, T. A. (2011). Go Chemistry: A card game to help students learn chemical formulas. J. Chem. Educ. 88: 1397–1399.

Piaget, J. (1932). The moral judgement of the child. London: Penguin.

Piaget, J. (1962). Play, dreams and imitation in childhood. New York: W.W. Norton.

Sawyer, A. K. (1976). "Chemantics" – a new chemical education card game. J. Chem. Educ. 53(12): 780.

Sevcik, R. S, Hicks, O. D., and Schultz, L. D. (2008). Elements – a card game of chemical names and symbols. J. Chem. Educ. 85(4): 514–515.

Most read articles by the same author(s)

> >>