ความก้าวหน้าทางการเรียนและทักษะการทดลองในการเรียนเรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย–สังเกต–อธิบาย

Main Article Content

มิรันตี โทผาวงษ์
กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา

Abstract

Normalized Gain and Experimenting Skills in Learning Chemical Reactions through the Predict–Observe–Explain Strategy
 
Miruntee Tophawong and Karntarat Wuttisela
 
รับบทความ: 28 เมษายน 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 31 พฤษภาคม 2557
 
 
บทคัดย่อ
การทำนาย–สังเกต–อธิบาย เป็นวิธีการจัดการเรียนการรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และทำนายผลการทดลอง (การทำนาย) เตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนเพื่อออกแบบการทดลองและปฏิบัติการทดลอง (การสังเกต) และอธิบายผลของการทดลอง (การอธิบาย) งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน ทักษะการทดลอง และหาความ สัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทดลองในการเรียนเรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย–สังเกต–อธิบาย แบบแผนการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินทักษะการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน การทดสอบค่าความก้าวหน้าทางการเรียน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนทั้งชั้นเรียนอยู่ในระดับปานกลาง นักเรียนมีคะแนนร้อยละของทักษะการปฏิบัติการทดลองมากที่สุด และคะแนนร้อยละของทักษะการบันทึกผลการทดลองน้อยที่สุด โดยเฉพาะในการตั้งสมมติฐานและการอภิปรายผล และความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการทดลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นความสัมพันธ์ทางบวก
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบทำนาย–สังเกต–อธิบาย  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ทักษะการทดลอง  ปฏิกิริยาเคมี
 
Abstract
The Predict-Observe-Explain (POE) is a strategy that encourages students to express their opinions and predict the results of experiments (prediction), prepare students to design and conduct experiments (observation), and explain the results of the experiments (explanation). The aims of this study were to study of students’ normalized gain, experimenting skills, and investigate the correlations between academic achievement and experimenting skills in learning chemical reactions through the POE strategy was investigated. A one group pretest–posttest design was implemented. Participants in the study were 35 eighth grade students of academic year 2/2013. The research instruments were an achievement test and an experimenting skills evaluation rubric. The data were analyzed by the use of means, standard deviations, t-test for dependent samples, normalized gain, and correlation coefficient. The results showed that the class average normalized gain was at the medium level. The students had the highest percentage for doing experimenting skills and the lowest percentage for writing laboratory reports, especially formulating a hypothesis and discussion. The correlation between experimenting skills and student achievement was positive correlations.
Keywords: Predict-Observe-Explain strategy, Learning achievement, Experimenting skills, Chemical reactions

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กริ่งแก้ว นวลศรี. (2551). การส่งเสริมทักษะการทดลองและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมการทดลองในชุมนุมวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

กัญชพร เครือคำ. (2556). ความสามารถของนักเรียนในการทำนาย สังเกต อธิบาย อภิปรายในปฏิบัติการเรื่องสมดุลเคมี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

เกียรติมณี บำรุงไร่. (2553). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predicts–Observe–Explain. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชาญชัย คำสะอาด. (2553). การใช้เทคนิค POE เพื่อเพิ่มความเข้าใจเรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็กไฟฟ้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ 3(3): 9-15.

ณราภรณ์ บุญกิจ. (2553) ตัวแทนความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แสง จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบนพื้นฐานคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบทำนาย–สังเกต–อธิบาย. การประชุมทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 11, หน้า 1212-1220. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นุจรี มณีจันทร์. (2553). การพัฒนาชุดการทดลองการหักเหของแสง เรื่อง ลึกจริงลึกปรากฏเพื่อพัฒนาทักษะการทดลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นุจรี มะโนมัย (2555). การจัดการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำเรื่องสารอินทรีย์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี.

น้ำค้าง จันเสริม. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องงานและพลังงานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 บนพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้วิธี POEs. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มาลาศรี สะตะ. (2551). การใช้กิจกรรมยุวหมอดินเพื่อพัฒนาทักษะการทดลองและเจตคติต่อวิทยา-ศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

รุจิระ การิสุข. (2554). การพัฒนาความเข้าใจเรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ศราวุธ นาเสงี่ยม. (2553). การสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย เพื่อพัฒนาความเข้าใจแนวคิดเรื่องวงจร ไฟฟ้ากระแสตรง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สงกรานต์ มูลศรีแก้ว. (2553). ตัวแทนความคิด เรื่องของไหลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อนันต์ ศิริทองสุข. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทดลองวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการทดลอง. ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุบลวรรณ ไท้ทอง. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย–สังเกต–อธิบายเรื่องไฟฟ้าเคมี เพื่อพัฒนาทักษะกระ- บวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ 3(พิเศษ): 272-280.

Kele, E. (2010). A study towards correcting student misconceptions related to the color issue in light unit with POE technique. Procedia Social and Behavioral Science 2(2): 3314-3319.

Hake, R. R. (1998). Interactive-engagement vs traditional methods: A six-thousand-student survey of mechanics test data for introductory physics courses. American Journal of Physics 61(1): 64-74.

Hsu, L-R. (2004). Using the Predict–Observe–Explain strategy to explore students’ alternative con-ceptions of combustibility. Annual Meeting of the National Association for Research in Science Teaching. สืบค้นจาก http://www.share.psu.ac.th/blog/sk002/24891 เมื่อวันที่ 25/03/2557.

Kearney, M. (2004). Classroom use of multimedia-supported Predict–Observe–Explain tasks in a social constructivist learning environment. Re-search in Science Education. 34: 427- 453.

Simsek, P. (2010). The effects of inquiry-based learning on elementary students’ conceptual under-standing of matter, scientific process skills and science attitudes. Procedia Social and Behavioral Science 2(2): 1190-1194.

Wu, Y-T, and Tsai, C-C. (2005). University students’ Internet attitudes and Internet self-efficacy: A study at three universities in Taiwan. Cyber Psychology & Behavior 9(4): 441-450.

Most read articles by the same author(s)

> >>