ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในท้องถิ่นด้วยการใช้ชุดกิจกรรมตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น

Main Article Content

สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ
สุภาภรณ์ ศิริโสภณา

Abstract

Learning Achievement and Learning Retention of Local Lower Secondary Students with an Activity Package of Basic Water Quality Tests
 
Surasak Laloknam and Supaporn Sirisopana
 
รับบทความ: 20 กันยายน 2554; ยอมรับตีพิมพ์: 22 พฤศจิกายน 2554
 
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างชุดกิจกรรม เรื่อง การตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในท้องถิ่นที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ รวมถึงศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ และความคงทนทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในท้องถิ่นที่ใช้ชุดกิจกรรม โดยการวิจัยเริ่มต้นจากการสร้างชุดกิจกรรม เรื่อง การตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน ทดลองสอนเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมและผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนกับกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในท้องถิ่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 24 คน และศึกษาความคงทนทางการเรียนกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ชุดกิจกรรม เรื่องการตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าเฉลี่ยของความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อชุดกิจกรรมทั้ง 6 หน่วยโดยภาพรวมเท่ากับ 4.53±0.20 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก และจากการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่า มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 74.37/71.32 นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรม (p < .05) และนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมอยู่ในระดับดี และเมื่อศึกษาความคงทนทางการเรียนเมื่อระยะเวลาผ่านไป 1 เดือน พบว่า นักเรียนมีความคงทนทางการเรียนอยู่ในระดับคงที่ เฉลี่ยร้อยละ 70.02±0.26
คำสำคัญ: การตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น ชุดกิจกรรม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนทางการเรียน
 
Abstract
This research aimed to construct an activity package of basic water quality tests for local lower secondary students to be a good level of quality with efficiency and to study students’ achievement, attitude and learning retention after implementing with the activity package. This study was accomplished through 3 steps. The first step was the construction of activity package. Its quality was evaluated by 7 experts, and its efficiency was determined. The second one was the trying out with a 24-student group of a local school in Omkoi, Chiang Mai.  The last step was the investigation of learning retention after 1-month learning with the package.  The results showed that the qualities of 6-unit activity package for local secondary students were shown in an average of 4.53±0.20, as a good quality level.  The efficiency of the activity package as 74.37/71.32, and students’ achievement after practising with the activity package was significantly higher than those before practicing with the package (p < .05). Students had learning retention as 70.02±0.26 after 1-month test.
Keywords: Basic water quality tests, Activity package, Learning achievement, Learning retention

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2540). เกณฑ์ระดับคุณภาพน้ำและมาตรฐานคุณภาพน้ำประเทศไทย. กรุงเทพฯ:กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. http://aca demic.obec.go.th/curriculum44/upload/cur_20081218151842.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551.

เชาวน์ศิริ ธาระรัตน์. (2550). การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความ สามารถในการเผยแพร่ความรู้ด้วยหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นภาพร วงค์เจริญ. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประพฤติ ศีลพิพัฒน์. (2540). การศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมสร้างสิ่งประดิษฐ์ในค่ายวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการสร้างสิ่งประดิษฐ์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประเสริฐ สำเภารอด. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมเรื่องระบบนิเวศในโรงเรียน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรพรรณ อินทร์ไทยวงศ์. (2553). การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศิธร มงคลทอง. (2548). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง น้ำเพื่อชีวิต สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2547). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ กุลชา ลี้ไพโรจน์กุล สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ สุภาภรณ์ ศิริโสภณา สายสุณีย์ ลิ้มชูวงศ์ วัฒนีย์ โรจนสัมฤทธิ์ และธรรมศักดิ์ รินทะ. (2551, พฤศจิกายน). ผลกระทบของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานต่อพฤติกรรมการเรียนและผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยาในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. การสัมมนาวิทยาศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 3. เชียงใหม่:โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระ-ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุภาภรณ์ ศิริโสภณา. (2549). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วท 272 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสำหรับครูวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิทยา-ศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. (2554). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วท 221 ชีววิทยาสำหรับครูวิทยาศาสตร์ 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยา-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัฐวุฒิ คำแสน และสุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพดินและการเปลี่ยนแปลงของดินสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 1(2): 11–21.

อัฐวุฒิ คำแสน สุภาภรณ์ ศิริโสภณา ชัยพร ท้าวพรหม แพรวพรรณ พรหมสมบูรณ์ และสุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. (2552). การศึกษาคุณภาพของดินโดยใช้แบบ จำลองขวดน้ำพลาสติก. วารสารเกษตรนเรศวร 12 (ฉบับพิเศษ): 202–207.

อาภรณ์ อ่อนคง. (2551). รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กลุ่มสาระวิทยา-ศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. นครศรีธรรมราช: โรงเรียนวัดทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ.

อารมณ์ บุญเชิดฉาย. (2548). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง การจัดการขยะมูลฝอย สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพ ฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อาศิรดา คงสนิท. (2546). การสร้างชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สินในน้ำสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Butts, D. D. (1978). The teacher of science: A self directed planning guide. New York: Harpers and Row.

Clough, M.P. (2002). Using the laboratory to enhance student learning. In R.W. Bybee (ed.). Learning science and the science of learning. Washington, DC: National Science Teacher Association.

deVries, R. (2002). What is constructivist about constructivist education? Keynote address at the annual meeting of the Association for Constructivist Teaching, Houston, TX.

Lewis, G., and Bedson, G. (1999). Games for Children. Oxford: Oxford University Press.

Lord, T. R. (1997). A comparison between traditional and constructivist teaching in college biology. Innov. Higher Educ. 21(3): 197–216.

Resnick, L.B. (1989). Introduction. In L. B. Resnick (ed.). Knowing, learning and instruction: Essays in honor of Robert Glaser. Hullsdale. NJ: Erbuam.

Most read articles by the same author(s)

> >>