การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพดินและการเปลี่ยนแปลงของดินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

อัฐวุฒิ คำแสน
สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ

Abstract

Enhancing Learning Outcome with an Activity Package Soil Improvement and Changing for Lower Secondary Students
 
Attavut Camsaen and Surasak Laloknam
 
รับบทความ: 14 มีนาคม 2554; ยอมรับตีพิมพ์: 22 เมษายน 2554
 
 
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการปรับคุณภาพดินและการเปลี่ยนแปลงของดินสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพอยู่ในระดับดี มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรม โดยการวิจัยได้ดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ การสร้างชุดกิจกรรมการปรับคุณภาพดินและการเปลี่ยนแปลงของดินด้วยการสร้างแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของดินในขวดน้ำพลาสติก และนำดินมาผสมกับเศษอาหาร ตรวจวัดค่าความเป็นกรด-เบส อุณหภูมิ สี และปริมาณธาตุอาหาร N P K จากนั้นสร้างชุดกิจกรรมการสอน ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และทดลองสอนเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับกลุ่มนักเรียนโรงเรียนวัดดอน-มงคลสันติสุขวิทยา อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน จำนวน 30 คน พบว่า การสร้างชุดกิจกรรมการปรับคุณภาพดินและการเปลี่ยนแปลงของดินในขวดน้ำพลาสติก ทำให้ผู้เรียนสามารถสังเกตลักษณะของเนื้อดินและสีของดิน มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากปรับปรุงคุณภาพของดิน โดยได้ค่าอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นค่อนข้างเป็นเบส และปริมาณธาตุอาหาร N P K เพิ่มขึ้น จากนั้นนำไปออกแบบและสร้างชุดกิจกรรมการปรับคุณภาพดินและการเปลี่ยนแปลงของดินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 หน่วย โดยค่าเฉลี่ยภาพรวมของความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อชุดกิจกรรมทั้ง 4 หน่วยเท่ากับ 4.46±0.36 ซึ่งอยู่ในระดับดี และจากการทดสอบชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่า มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์กำหนด 80.2/81.3 และนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมมีผลสัมฤทธิ์การเรียนภายหลังใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรม (p < .05)
คำสำคัญ: การปรับปรุงคุณภาพดินและการเปลี่ยนแปลงของดิน ชุดกิจกรรม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
 
Abstract
This research aimed to construct an activity package of soil improvement and changing for lower secondary students to be a good level of quality with efficiency attained the criteria at 80/80 and to study students’ achievement after implementing with the activity package. This study was accomplished through 3 steps were: 1) the construction of a model of soil improvement by using the plastic bottles to determine soil color, temperature, pH and N P K contents. The model contained soil with vegetable, meat, and/all mixed vegetable and meat; 2) the quality of activity package was determined by 5 experts; 3) experimental trying out with 30 students of Watdon-monkongsantisukwittaya School, Santisuk, Nan Province was performed. Plastic bottle model was also used in this package. The results of the examination of all soil samples showed that temperature was not changed, pH was increased to basic range, as well as N P K contents were increased.  The activity package comprising 4 learning units were designed and constructed for lower secondary students. The qualities of all four units in the activity package by five experts were shown in an average of 4.46±0.36, as a good quality level.  The efficiency of the activity package as 80.2/81.3, and students’ achievement after practicing with the activity package was significantly higher than those before practicing with it (p < .05).
Keywords: Soil improvement and changing, Activity package, Learning outcome

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ชลสีต์ จันทาสี. (2543). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการตัดสินใจทางวิทยาศาสตร์กับการสอนตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เชาวน์ศิริ ธาระรัตน์. (2550). การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความ สามารถในการเผยแพร่ความรู้ด้วยหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์. สารนิพนธ์ กศ.ม.(การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นภาพร วงค์เจริญ. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เบญจวรรณ ใจหาญ. (2550). การศึกษาผลของการจัด การเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการจัด การความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการนำเสนอความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประพฤติ ศีลพิพัฒน์. (2540). การศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมสร้างสิ่งประดิษฐ์ในค่ายวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการสร้างสิ่งประดิษฐ์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประเสริฐ ศรีไพโรจน์. (2535). คุณภาพวิเคราะห์แบบเซมิไมโคร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ประเสริฐ สำเภารอด. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมเรื่องระบบนิเวศในโรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก. สาร-นิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยะ ดวงพัตรา. (2553). สารปรับปรุงดิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรพรรณ อินทร์ไทยวงศ์. (2553). การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พูนพิภพ เกษมทรัพย์. (2549). ชีววิทยา 2. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีสม สุวรรณวงศ์. (2547). การวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิธร มงคลทอง. (2548). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง น้ำเพื่อชีวิต สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2553). หลักสูตรแกนกลางการ ศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สกาว แสงอ่อน. (2546). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สับปะรดท้องถิ่นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(วิทยาศาสตรศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. (2547). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา (ลาดพร้าว).

ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรม. ทรัพยากรดิน. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2553 จาก http://web.ku.ac.th/ schoolnet/snet6/envi2/subsoil/soil.htm

สนั่น แสงสุข และคณะ. (2551). หนังสือประกอบการศึกษา ชุดวิชาการศึกษานอกโรงเรียน หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฐาน-ปัญญา.

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ กุลชา ลี้ไพโรจน์กุล สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ สุภาภรณ์ ศิริโสภณา สายสุณีย์ ลิ้มชูวงศ์ วัฒนีย์ โรจนสัมฤทธิ์ และธรรมศักดิ์ รินทะ. (2551). ผลกระทบของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานต่อพฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. การสัมมนาวิทยาศาสตรศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 3. โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว เชียงใหม่: CD-ROM.

สรสิทธิ์ วัชโรทยาน. (2539). ดินและปุ๋ย. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2553 จาก http://www.kanchanapisek. or.th/kp6/BOOK18/chapter8/t18-8-l2.htm#sect2

สุชาดา พจนพิมล. (2542). การพัฒนาโปรแกรมการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาเรื่อง สารเป็นพิษใกล้ตัวด้วยวิธีสอนแบบศึกษานอกสถานที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสวนหลวง สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดาเรศ แจ่มเดชะศักดิ์. (2543). การพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล โดยใช้แนวการสอนแบบผูกเป็นเรื่องราว. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรอนงค์ ฟ้าคะนอง. (2548). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (วิทยาศาสตรศึกษา). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัฐวุฒิ คำแสน สุภาภรณ์ ศิริโสภณา ชัยพร ท้าวพรหม แพรวพรรณ พรหมสมบูรณ์ และสุรศักดิ์ ละลอกน้ำ (2552). การศึกษาคุณภาพของดินโดยใช้แบบจำลองขวดน้ำพลาสติก. วารสารเกษตรนเรศวร 12: 202-207.

อาภรณ์ อ่อนคง. (2551). รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กลุ่มสาระวิทยา-ศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. นครศรีธรรมราช: โรงเรียนวัดทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ.

อารมณ์ บุญเชิดฉาย. (2548). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง การจัดการขยะมูลฝอย สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพ ฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อิสริยา หนูจ้อย. (2549). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา เรื่อง ระบบนิเวศในนาข้าว สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Butts, D. D. (1978). The Teacher of Science A Self Directed Planning Guide. New York: Harpers and Row.

Clough, M. P. (2002). Using the laboratory to enhance student learning. In R.W. Bybee (Ed.). Learning science and the science of learning. National Science Teacher Association. Washington D.C.: pp 85-87.

de Vries, R. (2002). What is constructivist about cons-tructivist education? Keynote address at the annual meeting of the Association for Constructivist Teaching, Houston, TX.

EI – Sawh, M.N.A., and EI – Din, N.Z. (2000). Production and properties of thermostable alkaline protease from B. licheniformis and its importance in domiati cheese ripening. Annals Agri. Sci. (Cairo) 45(1): 113-127.

Lewis, G., and Bedson, G. (1999). Games for Children. Oxford: Oxford University Press.

Lord, T.R. (1997). A comparison between traditional and constructivist teaching in college biology. Innov. High. Educ. 21(3): 197-216.

Resnick, L.B. (1989). Introduction. In L.B.Resnick (Ed.). Knowing, Learning and Instruction: Essays in Honor of Robert Glaser. NJ, USA: Hullsdale.

Most read articles by the same author(s)

> >>