ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเขียว Vigna radiata L.

Main Article Content

ศิริรัตน์ ก๋าวีเขียว
บุญนิธิ คัสกุล
นงลักษณ์ มีแก้ว
สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ
สุภาภรณ์ ศิริโสภณา
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ

Abstract

Effect of Fermented Bioextracts on Growth and Production of Mung Bean (Vigna radiata L.)
 
Sirirat Kaveekhew, Boonnithi Khusakul, Nonglux Meekaew, Surasak Laloknam, Supaporn Sirisopana and Somkiat Phornphisutthimas
รับบทความ: 15 มีนาคม 2554; ยอมรับตีพิมพ์: 26 พฤษภาคม 2554
 
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของต้นถั่วเขียว โดยใช้สูตรน้ำหมัก EM6 ที่มีส่วนผสมของ มะละกอ: มะพร้าว: กากน้ำตาล อัตราส่วน 3:3:1 ในอัตราส่วนน้ำหมักต่อน้ำ 1: 10 1:100 1:1,000 1: 10,000 และ 1: 100,000 (V/V) พบว่า เมื่อเจือจาง ที่ 1: 10,000 ให้อัตราการงอกและการเจริญเติบโตสูงที่สุด จากนั้นศึกษาความถี่ของการรดน้ำหมักในช่วงเวลาต่างๆ ได้แก่ 3, 7 และ 14 วัน ในห้องปฏิบัติการจนครบวงชีวิตของต้นถั่วเขียว โดยในอัตราส่วนการเจือจางที่ 1: 10,000 พบว่า การรดน้ำหมักทุก 3 วัน ให้การเจริญเติบโตจนเก็บผลผลิตได้ดีที่สุดในระยะเวลา 42 วัน ในขณะที่ต้นควบคุมให้ผลผลิตสูงสุดในวันที่ 56 จากนั้นศึกษาในแปลงทดลอง พบว่า การรดน้ำหมักทุก 3 วัน ให้การเจริญเติบโตจนเก็บผลผลิตได้ดีที่สุดในระยะเวลา 42 วันเช่นเดียวกับในห้องปฏิบัติการ ในขณะที่ต้นควบคุมให้ผลผลิตสูงสุดในวันที่ 49 ดังนั้นน้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 6 สามารถทำให้การเจริญเติบโตของต้นถั่วเขียวและให้ผลผลิตเร็วกว่าภาวะปกติ
คำสำคัญ: น้ำหมักชีวภาพ ถั่วเขียว การเจริญเติบโต
 
Abstract
This research aimed to study the effect of fermented bioextracts on growth of Mung bean. The formula of bioextract, named EM6, was contained papaya: coconut: molasses in a ratio of 3:3:1. 1: 10, 1: 100, 1: 1,000, 1: 10,000 and 1: 100,000 (V/V) of EM6 were investigated for seed germination and growth of Mung bean. The 1: 10,000 (v/v) of EM6 had the highest seed germination and growth.  The frequencies of 1: 10,000 (v/v) EM6 treatment to mung bean each 3, 7 and 14 days were investigated under laboratory condition.  The result revealed that 3-day treatment cycle gave the highest yield within 42 days, while no treatment had the highest yield at 56 days. In field, 3-day treatment cycle showed the same highest yield as that in laboratory, but the control were shorter period of highest yield at 49 days. From these result, EM6 could promote the growth of mung been shorter period than the control condition.
Keywords: Fermented bioextract, Mung bean, Growth

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

เกษตรเคมี, กอง. (2545). ฮอร์โมนพืชและธาตุอาหารพืชในน้ำหมักชีวภาพ. กรุงเทพฯ: กรมวิชา-การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

บุญรอด ชาติยานนท์. (2544). ผลของสารสกัดจากใบประยงค์ต่อการยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (พืชสวน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

เพิ่มพูน ศักดิ์เกษม. (2531). ถั่วเขียว. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร.

ภาวณา ลิกขนานนท์. (2542). “น้ำสกัดชีวภาพ-ปุ๋ยชีวภาพ คืออะไรและได้ผลคุ้มค่าเพียงใด”. เคหการ เกษตร 24: 173-181.

มนฑนา รุจิระศักดิ์ พรศิลป์ สีเผือก และ พิทยา เกิดนุ่น. (2553, พฤษภาคม). การใช้น้ำหมักรกหมูในการเพิ่มคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว. รายงานการประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 7. โรงแรม ท๊อปแลนด์ พิษณุโลก.

รุศมา มฤบดี วีณารัตน์ มูลรัตน์ อรรถกร พรมวี และ สมชาย ชคตระการ. (2551). ผลของการใช้น้ำสกัดชีวภาพร่วมกับเชื้อรา Trichoderma harzianum สายพันธุ์ CB-Pin-01 ชนิดสดที่มีต่อการเจริญ เติบโตของผักโขมพันธุ์ผัก (Anaranthus tricolor). วิทยาศาสตร์การเกษตร 39(3): 363 – 366.

วิชัย สุทธิธรรม พิสมัย โพธิ์ศรี และนฤมล วชิรปัทมา (2547). ผลของน้ำสกัดชีวภาพที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วฝักสดในระบบการปลูกพืชแบบไร้ดิน. รายงานการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปทุมธานี.

วีณารัตน์ มูลรัตน์ สมชาย ชคตระการ และอัญชลี จาละ. (2553). ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาที่ใช้น้ำกากส่าเหล้าทดแทนกากน้ำตาลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งฮ่องเต้. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาพืช. กรุงเทพฯ.

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ สายสุณีย์ ลิ้มชูวงศ์ สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ และทิพวรรณ เหล่าหาโคตร. (2552, ตุลาคม). ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการต่อโตของพืชตระกูล Fabaceae. รายงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35. มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี.

สุภาจรี นิยะมานนท์ สมเดช นิยะมานนท์ และมรกต ศักดิ์ ศักดิ์นิมิต (2553). รายงานการวิจัยเรื่องการใช้ปุ๋ยจากสาหร่ายทะเลเพื่อเพิ่มผลผลิตกะหล่ำดอกในเขตอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. สงขลา: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยา-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุริยา สาสนรักกิจ. (2542). ปุ๋ยน้ำชีวภาพ. ฝ่ายเทคโนโลยี ชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

เสน่ห์ นันธิสิงห์. (2551). การศึกษากระบวนการย่อยสลายของฟางข้าวโดยใช้จุลลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในการหมัก. สารนิพนธ์ กศ.ม.(วิทยาศาสตรศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อมรา ทับทิม. (2547). ผลการใช้น้ำสกัดชีวภาพกับการผลิตมะระ. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. คณะเทคโนโลยี การเกษตร. สถาบันราชภัฏเพชรบุรี เพชรบุรี.

อรรถ บุญนิธี. (2544, พฤษภาคม). เอกสารประกอบคำอภิปรายในการสัมมนาเรื่อง การผลิตและการใช้น้ำสกัดชีวภาพ. โรงแรม เค พี แกรนด์ จันทบุรี.

Aguilar, M. L., Espadas, F., Maust, B., and Sáenz, L. (2009). Endogenous cytokinin content in coconut palms affected by lethal yellowing. J. Plant Pathol. 91(1): pp 141-146.

Boonsiri, K., Suangsang, D., Pirommi, S., Sea-ang, A., Tongying, W., Kontha, J., and Weejitian, A. (2009). Effect of granular organic fertilizers on growth and yield of Pak Choi and Rice cv. Phitsanulok 60-2. Asian J. Food Agro-Industry (special issue): S160-S163.

Galston, W.A. (1964). The life of the green plant. London: Prentice-Hall.

Noisopa, C., Prapagdee, B., Navanugraha, C., and Hutacharoen, R. (2010). Effects of Bio- extracts on the Growth of Chinese Kale. Kasetsart J.(Nat. Sci.). 44: 808-815.

Panjaitan, S. B., Aziz, M. A., Rashid, A. A., and Saleh, N. M. (2007). In-vitro plantlet regeneration from shoot tip of field-grown hermaphrodite papaya (Carica papaya L. cv. Eksotika). Int. J. Agri. Biol. 9(6): 827-832.

Talenger, D., Magambo, M. J. S., and rubaihayo, P. R. (1994). Testing for a suitable culture medium for micropropagation of east African highland bananas. Afri. Crop Sci. J. 2(1): pp 17-21.

Most read articles by the same author(s)

> >>