การประเมินผลโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ณ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

Main Article Content

สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ
วันทนี ทาทอง
สุภาภรณ์ ศิริโสภณา

Abstract

Assessment of Environmental Education Programme on Secondary Students at Ongkarak, Nakhon Nayok, Thailand
 
Surasak Laloknam, Wantanee Tatong and Supaporn Sirisopana
 
รับบทความ: 20 กันยายน 2555; ยอมรับตีพิมพ์: 8 พฤศจิกายน 2555
 
 
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการจัดค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่น ณ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ชุดกิจกรรมตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น แบบประเมินโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา “ค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่นครั้งที่ 2” ที่มีรายการประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก เจตคติ ทักษะ และการมีส่วนร่วม และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นใน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 54 คน ผลการวิจัยพบว่า รายการประเมินหลังการเข้าร่วมสูงกว่าก่อนเข้าร่วม “ค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่นครั้งที่ 2” ทุกรายการประเมิน โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การมีส่วนร่วม  เจตคติ  ความตระหนัก  ทักษะ และความรู้ความเข้าใจ ตามลำดับ และเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา  การประเมินผลโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา ค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่น
 
Abstract
This research aimed to study the effect of environmental education programme on secondary students’ achievement after cooperating with “The 2nd Saving the Water Youth Camp” at Ongkarak, Nakhon Nayok. Three instruments of this study were: 1) the activity package water quality test; 2) the students’ achievement worksheet composed of knowledge, awareness, skill, attitude and participation before and after taking the camping; 3) students’ preferences towards joining the camp. The target sample was 54 lower secondary students at Ongkarak, Nakhon Nayok. The findings revealed that the students after joining the camp had the all achievement items higher than those before joining the camp, by ranking of participation, attitude, knowledge, skill, and awareness, respectively. The youth preferences towards the camp were very good.
Keywords: Environmental education programme, Assessment of environmental education programme, Saving the water youth camp

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนก จันทร์ทอง. (2538). สิ่งแวดล้อมศึกษา: ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลkนครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

กรมควบคุมมลพิษ. (2540). เกณฑ์ระดับคุณภาพน้ำและมาตรฐานคุณภาพน้ำประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา กรณีศึกษาป่าชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2541). คู่มือสิ่งแวดล้อมศึกษา. ฝ่ายส่งเสริมการศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2544). สะพานเขียวสู่การปฏิบัติสิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งพับลิช.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. http:// academic.obec.go.th/curriculum44/upload/cur_20081218151842.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551.

เกษม จันทร์แก้ว. (2536). สิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษรสยามการพิมพ์.

เกษม จันทร์แก้ว. (2544). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2554). รายงานการประกันคุณภาพการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2554. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

จิราวรรณ เก่งกั่ว. (2545). โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา เรื่องการแยกขยะในโรงเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านไสยาสน์ ระดับประถมศึกษา 4-6 อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยาศาสตรสิ่งแวดล้อม).

แผนหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2551 – 2555). http://www.thaieeforum.com/Download. aspx สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2553.

ฝ่ายกิจการนิสิต. (2554). คู่มือปฏิบัติฝ่ายกิจการนิสิต. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฝ่ายกิจการนิสิต. (2554). บทที่สองของการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์. เอกสารประกอบโครงการแรกพบนิสิตใหม่และผู้ปกครอง ประจำปีการศึกษา 2554. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป. (2553). หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (5 ปี) ฉบับปรับปรุงปีการศึกษา 2554. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาสินี เปี่ยมพงศ์สานต์. (2548). สิ่งแวดล้อมศึกษา: แนวการสอน สาระการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2535). บทปฏิบัติการเพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน. ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา วิทยาลัยครูพระนคร.

วินัย วีระวัฒนานนท์ และบานชื่น สีพันผ่อง. (2539). สิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: ส่องศยาม.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2555). พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ: ออฟเซ็ท พลัส.

สุชาดา พจนพิมล. (2542). การพัฒนาโปรแกรมการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาเรื่อง สารเป็นพิษใกล้ตัวด้วยวิธีสอนแบบศึกษานอกสถานที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสวนหลวง สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดาเรศ แจ่มเดชะศักดิ์. (2543). การพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล โดยใช้แนวการสอนแบบผูกเป็นเรื่องราว. วิทยานิพนธ์นิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาภรณ์ ศิริโสภณา และสุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. (2555). การศึกษาผลของการใช้โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในท้องถิ่นด้วยการจัดค่ายเยาวชนรักษ์น้ำท้องถิ่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 3(1): 9–22.

สุภาภรณ์ ศิริโสภณา. (2549). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วท 272 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสำหรับครูวิทยาศาสตร์. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ และสุภาภรณ์ ศิริโสภณา. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในท้องถิ่น ด้วยการใช้ชุดกิจกรรมตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 2(2): 119–131.

สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. (2554). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วท 221 ชีววิทยาสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 1. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยา-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Palmer, J., and Neal, P. (1994). The handbook of environmental education. Chatham, Kent: Mackays of Chatham.

UNESCO. (1996). Learning for a sustainable envi-ronment: An agenda for teacher education in Asia and the Pacific. Bangkok: UNESCO Principal Regional Office for Asia and the Pacific.

Most read articles by the same author(s)

> >>