การพัฒนาแบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย DEVELOPMENT OF THE RESILIENCE SCALE FOR UPPER SECONDARY STUDENTS

Main Article Content

สิริชนม์ พันธ์เพ็ง
สุรชัย มีชาญ
วิไลลักษณ์ ลังกา

Abstract

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติและกำหนดคะแนนจุดตัดสำหรับแปลความหมายคะแนนของแบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ จำนวน 1,209 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ จำนวน 10 สถานการณ์ 30 ข้อ สร้างตามแนวคิดของกรอทเบิร์ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบด้วยโมเดล GRM คะแนนอันดับเปอร์เซ็นต์ไทล์ และคะแนนมาตรฐานทีปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับนิยามศัพท์เฉพาะ ตั้งแต่ 0.60 ถึง1.00 และมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.64  2) คุณภาพแบบวัดโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ด้วยโมเดล GRM พบว่า ค่าพารามิเตอร์ความชันร่วม ( ) มีค่าตั้งแต่ 0.72 ถึง 1.74 ค่าพารามิเตอร์ Threshold 1 ( 1) มีค่าตั้งแต่ -4.00 ถึง -0.91 และ ค่าพารามิเตอร์ Threshold 2 ( 2) มีค่าตั้งแต่ -1.84 ถึง 0.53 ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของแบบวัดสูงสุดที่ระดับความสามารถ ( ) ต่ำ 3) เกณฑ์ปกติมีคะแนนดิบตั้งแต่ 13 ถึง 60 คะแนน มีคะแนนมาตรฐานทีปกติตั้งแต่ T18 ถึง T72 และคะแนนจุดตัด Threshold ที่ 1 เท่ากับ -2.38 และคะแนนจุดตัด Threshold ที่ 2 เท่ากับ -0.63

Article Details

How to Cite
พันธ์เพ็ง ส., มีชาญ ส., & ลังกา ว. (2023). การพัฒนาแบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: DEVELOPMENT OF THE RESILIENCE SCALE FOR UPPER SECONDARY STUDENTS. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 87–101. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15166
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

เลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กรมสุขภาพจิต. (2562). คู่มือสร้างสรรค์พลังใจวัยทีน. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจ. เอส.

ชวาล แพรัตกุล. (2552). เทคนิคการวัดผล. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

ล้วน สายยศ, และ อังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. (2556). คู่มือการวัดทางจิตวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ตรีเทพ.

American Psychological Association. (2014). The Road to Resilience. Retrieved from https://uncw.edu/studentaffairs/committees/pdc/documents/the%20road%20to%20resilience.pdf

Grotberg, E. (1995). A Guide to Promoting Resilience in Children: Strengthening the Human Spirit. Retrieved from https://bibalex.org/baifa/attachment/documents/115519.pdf

UNESCO. (2019). Framework for 21st Century Learning.

World Health Organization. (2020). Strengthening Resilience: A Priority Shared by Health 2020 and the Sustainable Development Goals (1st ed.). Copenhagen: WHO Regional Office for Europe.

Most read articles by the same author(s)

> >>