การพัฒนาแบบวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ไพลิน จันทดิษฐ
พนิดา ศกุนตนาค
สุรชัย มีชาญ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 (นนทบุรี – พระนครศรีอยุธยา) จำนวน 567 คน วิเคราะห์คุณภาพแบบวัดโดยใช้ Graded Response Model ด้วยโปรแกรม IRT Pro ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาแบบวัดทำให้ได้แบบวัดเชิงสถานการณ์ 10 สถานการณ์ แต่ละสถานการณ์ประกอบด้วยคำถาม 4 ข้อย่อยตามองค์ประกอบตามแนวคิดของ Stoltz รวม 40 ข้อ ตัวเลือกกำหนดตามลักษณะของผู้ที่มีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค 3 ลักษณะตามแนวคิดของ Stoltz ผลการวิเคราะห์คุณภาพโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมมีค่าความเที่ยงตรงเชิงพินิจตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.65  2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบพบว่า ค่าพารามิเตอร์ความชันร่วม (α) ทั้ง 4 องค์ประกอบมีค่าตั้งแต่ 0.51 – 2.49 ค่าพารามิเตอร์ threshold (β) ทั้ง 4 องค์ประกอบ พบว่า β1 มีค่าตั้งแต่ -2.96 ถึง -1.35 และ β2 มีค่าตั้งแต่ -1.60 ถึง 0.45 และสารสนเทศของแบบวัดมีค่าสูงในช่วงความสามารถของผู้ตอบแบบวัดต่ำ คำสำคัญ: ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค; ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ   ABSTRACT The objective of this research are to develop adversity quotient test for graded 9 students, to check the quality adversity quotient test by item response theory. The sample of study consisted of 700 graded 9 students form the under the Secondary Educational Service Area Office 3 in 2019 academic year. Data were analyzed to IRT Pro program. The results of this research were as follows. 1. The results of the development were adversity quotient test. That AQ test was 40 three-choice items situational four elements based on Stoltz’s theory. The adversity quotient validity was in the range from 0.60-1.00 and discriminative was in the range from 0.25 - 0.65.  2. The results of item response model showed that four elements discrimination parameter (α) range from 0.51 – 2.49 and difficulty parameter (β) showed that β1 range from -2.96 to -1.35, β2 range from -1.60 to 0.45. The test information of adversity quotient test high showed that ability low level. Keywords: Adversity Quotient; Item Response Theory

Article Details

How to Cite
จันทดิษฐ ไ., ศกุนตนาค พ., & มีชาญ ส. (2021). การพัฒนาแบบวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13795
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)