การพัฒนาเกมการศึกษาโดยใช้สื่อจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 THE DEVELOPMENT OF LEARNING EDUCATIONAL GAMES WITH NATURAL OBJECTS TO STIMULATE MATHEMATICS BASIC SKILLS FOR KINDERGARTEN 2 STUDENTS

Authors

  • อัชราภรณ์ ฟักปลั่ง
  • ชำนาญ ปาณาวงษ์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเกมการศึกษาโดยใช้สื่อจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของเกมการศึกษาตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้เกมการศึกษาก่อนและหลังการใช้เกมและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนอนุบาลโพธิ์ประทับช้าง (ทุ่งใหญ่) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน  16 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง  และขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เกมการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  เกมการศึกษาโดยใช้สื่อจากธรรมชาติ แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เกมการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างเกมการศึกษาโดยใช้สื่อจากธรรมชาติจำนวน 8 เกม มีค่าความเหมาะสมของเกม   = 4.43, S.D. = 0.27 และประสิทธิภาพของเกมเท่ากับ 77.35/76.17 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75 2) การศึกษาผลการใช้เกมการศึกษา (2.1) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการใช้เกมการศึกษาสูงกว่าก่อนใช้เกมการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (2.2) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการใช้เกมการศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เกมการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 2.89, S.D. = 0.08) คำสำคัญ: เกมการศึกษา  สื่อธรรมชาติ  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ Abstract The objectives of this research are to development of learning education games with natural object to stimulate mathematics basic skill for Kindergarten 2 students. The research procedure consisted for 3 step as follows: Step 1 Create and ensure the efficiency of educational according to an efficient criterion 75/75. Step 2 study the result of educational games between pre- and post – usage of learning and compare the mathematics basic skills after use of educational games with 75 percent criterion. The sample group were Kindergarten 2 students of the 2020 academic year by Purposive Sampling. Step 3 Study the satisfaction of the students towards the learning educational games. The research instruments were education games with natural object, mathematics basic skills tests with 0.89 reliability value and a questionnaire. The results were found that 1) Eight games develop by researchers are influenced by natural objects. The quality of education game were  = 4.43, S.D. = 0.27.  The efficiency of the developed learning educational games was 77.35/76.17 which was in according 75/75 criterion. 2) In terms of the results of using educational games (2.1) The mathematics basic skills after the use of learning educational games was higher than the pre – usage of learning educational games at significant level .05 (2.2) The mathematics basic skills after the use of learning educational games was higher than 75 percent criterion at significant level .05 3) The level of satisfaction from the student was high level. (  = 2.89, S.D. = 0.08) Keywords: Educational games, Natural objects, Mathematics basic skills

Downloads