การศึกษาความต้องการจำเป็นในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักศึกษาวิชาชีพครู
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูประกอบด้วย1) การศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาความต้องการจำเป็นในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลคือ อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยง รวม 7 คน และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลคือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 5 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มตะวันตก จำนวน 8 คน 2) การศึกษาเชิงปริมาณเป็นการศึกษาข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 4 จำนวน 349 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified) ผลการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า นักศึกษาวิชาชีพครูมีความจำเป็นต้องได้รับการเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์ประกอบด้านการสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหา ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณที่พบว่า ระดับการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูในด้านสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับต่ำกว่าด้านสภาพที่คาดหวังและเมื่อพิจารณาผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นรายองค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ การสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหา(PNImodified= 0.33) รองลงมา คือ การเตรียมพร้อมสู่ปฏิบัติการแก้ปัญหา (PNImodified= 0.29) และการศึกษาสภาพปัญหา (PNImodified= 0.28) ตามลำดับ คำสำคัญ: ความต้องการจำเป็น การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ นักศึกษาวิชาชีพครู ABSTRACT This research aimed to study the needs assessment on creative problem solving of pre-service teachersby using mixed methods research. 1) For qualitative research, the needs assessment on creative problem solving was conducted by using an in-depth interview and focus group. The key informants for the interview were expert teachers, university advisors, and school advisors, totaling 7 persons. The key informants for the focus group were 8 pre-service teachers who studied in the 5th year of Bachelor of Education in Western Rajabhat Universities. 2) For quantitative research, the data were collected by using the questionnaire about needs assessment on creative problem solving. The sample consisted of 389 4thyear pre-service teachers. The qualitative data were analyzed by content analysis, while the quantitative data were analyzed by mean, standard deviation, and modified priorityneeds index. The results from qualitative study showed that the pre-service teacher at present needed the enhancementin creative problem solving, especially in the generating idea. This was in accordance with the quantitative researchthat the level of creative problem solving of the pre-service teacher in the actual condition aspect was lower than the expected condition. When considering the priority of needs in each component, the component that mostly needs development was the generating idea, followed by the preparing for action, and understanding the challenge, respectively. Keyword: Needs Assessment, Creative Problem Solving, Pre-Service TeacherDownloads
How to Cite
คชพงษ์ น., จุลรัตน์ พ., & ลังกา ว. (2019). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12153
Issue
Section
บทความวิจัย (Research Articles)