การวิเคราะห์สภาพ ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการนำนโยบายการศึกษาด้านการผลิตครูไปสู่ การปฏิบัติของประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การศึกษาการนำนโยบายการศึกษาด้านการผลิตครูไปสู่การปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพ ปัจจัยที่ส่งเสริม ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ในประเทศไทย สิงคโปร์และมาเลเซีย มีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพทั้งจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามกรอบทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติจากบนลงล่าง (top-down theories of implementation) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการนำนโยบายการศึกษาด้านการผลิตครูไปสู่การปฏิบัติ ในประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย มีดังนี้ 1.1) ประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการผลิตครู มีการจัดโครงสร้างการบริหารงาน โดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ผลิตนักศึกษาครู ส่วนการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและควบคุมการประกอบวิชาชีพถูกกำกับโดย คุรุสภา 1.2)ประเทศสิงคโปร์ กระทรวงศึกษาธิการเป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการเชิงนโยบายและกำกับดูแลการนำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ โดยมีฝ่ายมหาวิทยาลัยที่คอยทำหน้าที่ออกแบบนโยบายระดับมหาวิทยาลัย จากนั้นนโยบายจะลงมาที่ระดับสถาบันของรัฐ ซึ่งมีสถาบันการผลิตครูแห่งเดียวคือ สถาบันการศึกษาแห่งชาติ(National Institute of Education) ที่รับผิดชอบในการให้การศึกษาทางด้านการฝึกหัดครูทุกระดับ 1.3) ประเทศมาเลเซีย กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารระบบการศึกษาของชาติและนำนโยบายการศึกษาไปปฏิบัติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการฯ เป็นประธาน เป็นองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุด มีสภาอุดมศึกษาแห่งชาติ (The National Council on Higher Education) มีหน้าที่ควบคุมนโยบายเกี่ยวกับการรับนักศึกษา ค่าเรียน การให้อนุปริญญาและปริญญาบัตรและการรับรองวิทยฐานะของวิชาที่เรียน 2. ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการนำนโยบายการศึกษาด้านการผลิตครูไปสู่การปฏิบัติ ในประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย มีดังนี้ 2.1)ประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองค่อยข้างบ่อย นักการเมืองมีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการนโยบายทางการศึกษา 10 ปี ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นนโยบายประชานิยม ประกอบกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมมีอิทธิพลสูง จึงทำให้ปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จต่อการนำนโยบายการศึกษาด้านการผลิตครูไปสู่การปฏิบัติ ทั้ง ๆ ที่นโยบายมีความชัดเจน มีแผนดำเนินงานและมีการวางขอบเขตของจำนวนรับนักศึกษาครู แต่ด้วยกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติยังไม่สามารถควบคุมจำนวนสถาบันและจำนวนการรับนักศึกษาครู 2.2)ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมสูง จึงทำให้ปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จของการนำนโยบายการศึกษาด้านการผลิตครูไปสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะมีนโยบายการศึกษาที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ นอกจากนี้ การบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยที่ยังอยู่ในกำกับของรัฐ จึงทำให้การศึกษาก้าวรุดหน้าไปกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน 2.3)ประเทศมาเลเซียมีระบบการบริหารการศึกษาทุกประเภททุกระดับอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเพียงกระทรวงเดียวและมีระบบการจัดและการบริหารการศึกษาทุกประเภทที่ใช้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ รัฐบาลมีความต่อเนื่องของการทำงาน ปัจจัยด้านการบริหารเห็นได้ว่ามีความชัดเจนในการจัดระบบการผลิตครู มีสถาบันผลิตครูประถมและมัธยมแยกจากกัน ปัจจัยทางการเมืองเป็นปัจจัยส่งเสริมต่อการนำนโยบายการศึกษาด้านการผลิตครูไปสู่การปฏิบัติ แต่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมกลับพบว่า ความเจริญด้านเศรษฐกิจทำให้อาชีพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสาขาวิชาที่ขาดแคลนเป็นที่นิยมมากกว่าอาชีพครูเนื่องจากค่าตอบแทนครูต่ำ คำสำคัญ : นโยบายการศึกษาด้านการผลิตครู การนำไปสู่ปฏิรูป ปัจจัยที่ส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรค
Article Details
How to Cite
ลังกา ว. (2015). การวิเคราะห์สภาพ ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการนำนโยบายการศึกษาด้านการผลิตครูไปสู่ การปฏิบัติของประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6579
Section
บทความวิจัย (Research Articles)