ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถคิดบริหารจัดการตนเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดในกลุ่มเยาวชน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถคิดบริหารจัดการตนเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดในกลุ่มเยาวชน โดยการศึกษาแนวคิดการพัฒนาความสามารถคิดบริหารจัดการตน ร่วมกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.โปรแกรมพัฒนาความสามารถคิดบริหารจัดการตนเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดในกลุ่มเยาวชนผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องและความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน 2. แบบประเมินความสามารถคิดบริหารจัดการตนในกลุ่มเยาวชนดัชนีความความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือทั้งชุด (Scale-level CVI; SCVI) เท่ากับ .95 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 Corrected Item-Total Correlation (CITC) มีค่าระหว่าง .249 - .7943. แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดของเยาวชน SCVI เท่ากับ .91 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 CITC มีค่าระหว่าง .220 - .775 ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถคิดบริหารจัดการตนของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากหลังจากได้รับการจัดกระทำ (หลังการทดลอง) และลดลงภายหลังการจัดกระทำ 1 เดือน คือ 3.18, 3.30 และ 3.19 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกันแต่มีความแตกต่างกันค่อนข้างน้อยมาก คือ 3.27, 3.30 และ 3.24 ตามลำดับ การประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดของเยาวชน พบว่าคะแนนลดลงเล็กน้อยจากหลังจากได้รับการจัดกระทำ (หลังการทดลอง) และลดลงภายหลังการจัดกระทำ 1 เดือน คือ 2.25, 2.20 และ 2.00 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยภายหลังการจัดกระทำ 1 เดือน คือ 2.26, 2.26 และ 2.14 ตามลำดับการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่ม (Tests of Within-Subjects Effects) ของความสามารถคิดบริหารจัดการตน (EF) และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด (RISK) ของกลุ่มทดลองตามช่วงเวลาก่อนการทดลองหลังการทดลองทันที และติดตามภายหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 1 เดือนพบว่า พฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด (RISK) ของกลุ่มทดลองตามช่วงเวลาก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และ ติดตามภายหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 1 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (p = .004) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบกว่า ผลต่างของค่าเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดก่อนการทดลองแตกต่างกับค่าเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดติดตามภายหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแตกต่างกัน 0.245 คะแนน คำสำคัญ: ความสามารถคิดบริหารจัดการตน สารเสพติด เยาวชน ABSTRACT The objective of this research to study the effectiveness of Executive Function Program as a Protective Factor for Substance use Among Youth. It is a research and development conducted by studying the concept of Executive Function (EF) and protective factor for substance use to determine factors and then design evaluation of Executive Function (EF) for youth. Evaluation of risk behavior of substance abuse among youth is developed from risk behavior of substance abuse screening test and then create Executive Function Program as a protective factor for substance abuse among youth.Research instrument are 1) function program as a protective factor for substance abuse among youth 2) evaluation of Executive Function (EF) for youth (Scale-level-CVI; SCVI = .95, α = 0.94, CITC = .249 - .794) 3) evaluation of risk behavior of substance abuse among youth (SCVI = .91, α = 0.88, CITC = .220 - .775) The research findings were as follows: Evaluation of Executive function (EF) of experimented group is slightly increased after immediately participated in Executive Function Program but decreased 1 month later (3.18, 3.30 and 3.19). Meanwhile Executive Function (EF) of controlled group is in the same way but slightly different (3.27, 3.30, and 3.24). Evaluation of risk behavior of substance abuse among youth of experimented group is slightly decreased after immediately participated in Executive Function Program and decreased 1 month later (2.25, 2.20 and 2.00). Meanwhile risk behavior of substance abuse among youth of controlled group is slightly difference 1 month later (2.26, 2.2, and 2.14). The analysis of variance to test the differences within groups (Tests of Within-Subjects Effects) of Executive Function (EF) and the behavioral risk of substance abuse (RISK) of an experimental group based on the time interval before the trials. Immediately after the trial and track later finished 1 month trial found that the risk of substance abuse (RISK) of an experimental group based on the time interval before the trials. Immediately after the trial and track later finished 1 month trial there were differences statistically significant at the .01 level (p = .004) and compare the differences of the average than found. The difference of average risk behaviors drugs before the experiment is different to the average risk behaviors drugs track later completed the experiment. 1 month, statistically significant at the .05 level by different 0.245 score. Keywords: Executive Function (EF), Substance Abuse, Youth
Article Details
How to Cite
พึ่งเชื้อ เ., ภัทราวิวัฒน์ ก., & ลังกา ว. (2019). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถคิดบริหารจัดการตนเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดในกลุ่มเยาวชน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11834
Section
บทความวิจัย (Research Articles)