https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/issue/feed
วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2023-07-14T11:34:56+00:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง
Arethit@g.swu.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดทำโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนนักวิชาการทั่วไป และเป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับชาติและพัฒนาไปสู่มาตรฐานในระดับสากลต่อไป</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่วารสาร</strong> ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</strong> เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย [Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre] และอยู่ใน <strong>วารสารกลุ่มที่ 2</strong> (จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567)<br /><br /><strong>กองบรรณาธิการวารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)</strong> มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ (Processing fees and/or Article Page) จากผู้นิพนธ์บทความ จำนวน 3,500 บาท / บทความ </p> <p>การพิจารณาบทความ จะผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน / บทความ </p> <p> </p>
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15509
สารบัญ
2023-07-14T11:34:56+00:00
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
journal.edswu@gmail.com
<p>สารบัญ</p>
2023-07-14T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15170
การพัฒนาแชทบอทเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
2023-03-27T08:39:11+00:00
กรรวี เกตุสุริยวงศ์
kornrawee.sg@gmail.com
นิพาดา ไตรรัตน์
journal.edswu@gmail.com
<p>การศึกษาวิจัย เรื่อง “การพัฒนาแชทบอทเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์” ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการ ความคาดหวัง และความพึงพอใจที่มีต่องานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ 2) พัฒนาแชทบอทเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ 3) ศึกษาประสิทธิภาพการบริการงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 46 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จากผู้ที่มาขอใช้บริการงานโสตทัศนศึกษา โดยนำกระบวนการวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (Systems Development Life Cycle) หรือ SDLC ในรูปแบบ Agile SDLC Model มาใช้ในการพัฒนาแชทบอท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการวิจัย พบว่า (1) ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์เกี่ยวกับความต้องการและความคาดหวังที่มีต่องานโสตทัศนศึกษาฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 ส่วนความพึงพอใจที่มีต่องานโสตทัศนศึกษาฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.96 (2) แชทบอทเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ที่พัฒนาขึ้น ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 (3) ผลการประเมินประสิทธิภาพงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ หลังจากการใช้งานผ่านแชทบอท ของผู้บริหาร ครู และบุคลากร มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51</p>
2023-06-19T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15171
การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตครู มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2023-03-30T04:40:01+00:00
ศุภรัตน์ จามรมาน
suparat.jarmonmarn@g.swu.ac.th
นฤมล ศิระวงษ์
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตครู มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตครู มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ 3) เพื่อศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 3 เอกเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 2 – 4 ที่เรียนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า T-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ พบว่า มีประสิทธิภาพ 81.68/83.61 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ สรุปได้ว่า บทเรียนออนไลน์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา จากการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 75.78 และค่าเฉลี่ย 3.79)</p>
2023-06-19T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15105
การจัดการเรียนรู้แบบการสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2023-03-30T07:22:29+00:00
วิสาพร ฤกษ์ปฐมศักดิ์
wisaporn.lerkpatomsak@g.swu.ac.th
ดวงใจ สีเขียว
journal.edswu@gmail.com
อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และศึกษาระดับพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์ วิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ วิชานาฏศิลป์ แบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D ) สถิติทดสอบ ที (t –test for Dependent Samples) และการวัดความเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ (Relative Change Score) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์วิชานาฏศิลป์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นการตั้งปัญหา 3) ขั้นค้นคว้าและคิด 4) ขั้นนำเสนอผลการศึกษาและ 5) ขั้นการประเมินผล ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ วิชานาฏศิลป์ พบว่า คะแนนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 8.77 และคะแนนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ16.73 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 29.61, Sig. = <.001) ผลการศึกษาระดับพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์ พบว่า นักเรียนมีพัฒนการอยู่ในระดับสูงมาก จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 53.34 นักเรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 43.33 และนักเรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับกลาง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.33 ตามลำดับ</p>
2023-06-19T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15191
ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสังกัด เทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ตามแนวคิดความอยู่ดีมีสุขของผู้เรียน
2023-04-03T05:50:15+00:00
พรพรหม พานิชเจริญ
6480184127@student.chula.ac.th
ธีรภัทร กุโลภาส
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ตามแนวคิดความอยู่ดีมีสุขของผู้เรียน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 8 คน และครูผู้สอน จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจําเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ตามแนวคิดความอยู่ดีมีสุขของผู้เรียน ในภาพรวมคือ 0.127 (PNI <sub>Modified</sub> = 0.127) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI <sub>Modified</sub> = 0.136) รองลงมา คือ การการวัดและประเมินผล (PNI <sub>Modified</sub> = 0.126) และขอบข่ายการบริหารวิชาการที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ (PNI <sub>Modified</sub> = 0.121)</p>
2023-06-19T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15198
การวิเคราะห์องค์ประกอบการยืนหยัดท่ามกลางความพลิกผันของครู ในโรงเรียนยอดนิยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดสงขลา
2023-04-05T08:09:55+00:00
พิทักษ์พล อินมณเฑียร
phithakbol_inm@yorsor.ac.th
ชวลิต เกิดทิพย์
journal.edswu@gmail.com
<p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการยืนหยัดท่ามกลางความพลิกผันของครูในโรงเรียนยอดนิยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ครูในโรงเรียนยอดนิยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดสงขลา งานวิจัยครั้งนี้ใช้ตัวแปร ทั้งสิ้น 48 ตัวแปร ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดอัตราส่วนของตัวแปรต่อขนาดกลุ่มตัวอย่าง 1 : 9 จึงได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 432 คน ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามและมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับคืนมา 369 คน คิดเป็นร้อยละ 85.41 และเทียบอัตราส่วนของตัวแปรต่อขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 1 : 7.69 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เหมาะสมในการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Hair Et All, 1998) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม Rating Scale แบบ Likert Scale มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .961 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Factor Analysis ในรูปแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบการยืนหยัดท่ามกลางความพลิกผันของครูในโรงเรียนยอดนิยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ สัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง การรู้สึกสำนึกและซาบซึ้งต่อสิ่งที่ได้รับ การทุ่มเททำงานเพื่อความมั่นคง และการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทายด้วยจิตใจที่แน่วแน่</p>
2023-07-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15258
ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดทักษะการร่วมสร้างสรรค์
2023-05-24T02:47:42+00:00
มานิดา เสารอง
6480058827@student.chula.ac.th
เพ็ญวรา ชูประวัติ
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามแนวคิดทักษะการร่วมสร้างสรรค์ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามแนวคิดทักษะการร่วมสร้างสรรค์ โดยผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย คือ ผู้บริหารคณะนิเทศศาสตร์ จำนวน 13 คน และเจ้าหน้าที่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดทักษะการร่วมสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น <span style="font-size: 0.875rem;">ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดทักษะการร่วมสร้างสรรค์ วิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยาย และประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่า PNI</span><sub>modified</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (PNI</span><sub>modified</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.318) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ (PNI</span><sub>modified</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.434) รองลงมา คือ ด้านทักษะการแก้ไขปัญหา (PNI</span><sub>modified</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.323) และทักษะที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ ด้านทักษะระหว่างบุคคล (PNI</span><sub>modified</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.266)</span></p>
2023-07-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15166
การพัฒนาแบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
2023-03-30T07:14:22+00:00
สิริชนม์ พันธ์เพ็ง
sirichonph@gmail.com
สุรชัย มีชาญ
surachaim@g.swu.ac.th
วิไลลักษณ์ ลังกา
W_langka@hotmail.com
<p>การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติและกำหนดคะแนนจุดตัดสำหรับแปลความหมายคะแนนของแบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ จำนวน 1,209 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ จำนวน 10 สถานการณ์ 30 ข้อ สร้างตามแนวคิดของกรอทเบิร์ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบด้วยโมเดล GRM คะแนนอันดับเปอร์เซ็นต์ไทล์ และคะแนนมาตรฐานทีปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับนิยามศัพท์เฉพาะ ตั้งแต่ 0.60 ถึง1.00 และมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.64 2) คุณภาพแบบวัดโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ด้วยโมเดล GRM พบว่า ค่าพารามิเตอร์ความชันร่วม ( ) มีค่าตั้งแต่ 0.72 ถึง 1.74 ค่าพารามิเตอร์ Threshold 1 ( <sub>1</sub>) มีค่าตั้งแต่ -4.00 ถึง -0.91 และ ค่าพารามิเตอร์ Threshold 2 ( <sub>2</sub>) มีค่าตั้งแต่ -1.84 ถึง 0.53 ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของแบบวัดสูงสุดที่ระดับความสามารถ ( ) ต่ำ 3) เกณฑ์ปกติมีคะแนนดิบตั้งแต่ 13 ถึง 60 คะแนน มีคะแนนมาตรฐานทีปกติตั้งแต่ T18 ถึง T72 และคะแนนจุดตัด Threshold ที่ 1 เท่ากับ -2.38 และคะแนนจุดตัด Threshold ที่ 2 เท่ากับ -0.63</p>
2023-07-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15173
แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี
2023-03-30T06:37:28+00:00
สุทธิพร ลีเจริญ
ma_hora@hotmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมจำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เป็นการวิจัยแบบผสม ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน 2) ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 100 คน 3) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 382 คน 4) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า 1) ตามความคิดเห็นของของนักเรียน อยู่ในระดับ ปาน กลาง (3.40) 2) ความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับ ปานกลาง (4.19) และ 3) ความคิดเห็นของผู้บริหาร สถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง (5.00) 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เมื่อจำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร 1) ด้านการบริหาร โรงเรียนขนาดกลางแตกต่างกับขนาดใหญ่ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่แตกต่างกับขนาดใหญ่พิเศษ 3) ด้านการบริการ โรงเรียนขนาดกลางมีความคิดเห็นที่แตกต่างกับใหญ่พิเศษ และความคิดเห็นของครูผู้สอน 1) ด้านการบริหาร โรงเรียนขนาดกลาง,ขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ แตกต่างกัน 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนขนาดกลาง,ขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ ไม่แตกต่างกัน 3) ด้านการบริการ โรงเรียนขนาดกลางกับขนาดใหญ่ที่แตกต่างกับขนาดใหญ่พิเศษ 3. แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อสร้างเป็นแนวทางการพัฒนาการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหาร 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการบริการ</p>
2023-07-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15224
ความสำเร็จของการขยายผลองค์ความรู้ทางวิชาการและวิธีจัดการเรียนการสอนไปยังโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2023-05-16T10:08:37+00:00
รุ่งทิวา แย้มรุ่ง
journal.edswu@gmail.com
มนตา ตุลย์เมธาการ
manaathar@m.swu.ac.th
วิไลลักษณ์ ลังกา
journal.edswu@gmail.com
พนิดา ศกุนตนาค
journal.edswu@gmail.com
อรอุมา เจริญสุข
journal.edswu@gmail.com
ศุภวรรณ สัจจพิบูล
journal.edswu@gmail.com
นฤมล ศิระวงษ์
journal.edswu@gmail.com
อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ตามโครงการความร่วมมือกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ในการขยายผลองค์ความรู้ทางวิชาการและวิธีจัดการเรียนการสอนไปยังโรงเรียนเครือข่ายระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยแหล่งข้อมูลบุคคล ประกอบไปด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารและครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 11 โรงเรียน กลุ่มที่ 2 ครูโรงเรียนเครือข่าย ประชากรจำนวน 109 โรงเรียน กลุ่มที่ 3 นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 11 โรงเรียน และกลุ่มที่ 4 นักเรียนโรงเรียนเครือข่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม ประเด็นการสัมภาษณ์/สนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์เชิงบรรยายด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) <span style="font-size: 0.875rem;">ครูโรงเรียนเครือข่ายสามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้เหมาะสมในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.41 จากคะแนนเต็ม 5) และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้เหมาะสมในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.36 จากคะแนนเต็ม 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.01 จากคะแนนเต็ม 5) 2. </span><span style="font-size: 0.875rem;">กระบวนการขยายผลองค์ความรู้และวิธีจัดการเรียนการสอนของโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.47 จากคะแนนเต็ม 5) วิทยากรศูนย์ขยายผลกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และครูโรงเรียนเครือข่าย มีเจตคติที่ดีต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.55 จากคะแนนเต็ม 5) โดยการพิจารณารายด้านพบว่าเจตคติที่ดีต่อ “คุณภาพวิทยากร” “เนื้อหาสาระและกิจกรรมการอบรม” “สื่อ/วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการอบรม” และ “การติดตามและกำกับดูแล” อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (คะแนนเฉลี่ย 4.42 ถึง 4.57 จากคะแนนเต็ม 5) 3) </span><span style="font-size: 0.875rem;">ประสิทธิผลของสื่อ/อุปกรณ์ที่ได้รับจากโครงการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.52 จากคะแนนเต็ม 5) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้สอนและผู้เรียนหลังจากการใช้สื่อ/อุปกรณ์ที่จัดซื้อจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สอดคล้องเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของโครงการ</span></p>
2023-07-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15380
การพัฒนาแพลตฟอร์มชุมชนแห่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ
2023-06-12T10:33:25+00:00
อุทิศ บำรุงชีพ
uthitb@go.buu.ac.th
พักตร์วิภา โพธิ์ศรี
journal.edswu@gmail.com
มงคล ยังทนุรัตน์
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) สังเคราะห์องค์ประกอบของต้นแบบแพลตฟอร์มชุมชนแห่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารสุขภาพเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ 2) พัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มให้มีประสิทธิภาพ และ3) ศึกษาความพึงพอใจผู้สูงอายุที่ใช้ต้นแบบแพลตฟอร์มชุมชนแห่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารสุขภาพ การดำเนินการวิจัยและพัฒนา 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงเอกสาร จากต้นแบบแพลตฟอร์ม 6 ต้นแบบ และสนทนากลุ่มจำนวน 9 คน ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณสอบถามผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คนด้วยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 3 ทดลองใช้กับผู้สูงอายุจำนวน 37 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แบบเป็นสัดส่วน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) <span style="font-size: 0.875rem;">ต้นแบบแพลตฟอร์มชุมชนแห่งการเรียนรู้ ครอบคลุมการเรียนรู้ 3 มิติ คือ มิติที่ 1 รู้เขารู้เราเข้าใจดิจิทัล (S1: Savvy) มิติที่ 2 เคารพเขาเคารพเราบนโลกดิจิทัล (S2: Social) มิติที่ 3 ป้องกัน เท่าทันภัยดิจิทัล (S3: Safety) และกิจกรรมของชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ เสริมภูมิความรู้เดิม เติมภูมิความรู้ใหม่ สร้างแรงใจการมีส่วนร่วม หลอมรวมคลังจัดการความรู้ โดยแพลตฟอร์มชื่อว่า We Enjoy Digital ที่ประกอบด้วย โมบายแอปพลิเคชัน เว็บแอปพลิเคชัน และแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด 2) </span><span style="font-size: 0.875rem;">ผลการพัฒนา พบว่า ต้นแพลตฟอร์มชุมชนแห่งการเรียนรู้ We Enjoy Digital มีประสิทธิภาพโดยรวมซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.51 3) </span><span style="font-size: 0.875rem;">ผลการทดสอบกับผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.58 ด้านการสมัครและการใช้งาน ผู้ใช้ (User) มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.59</span></p>
2023-07-06T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15300
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
2023-05-24T08:43:40+00:00
ธันยานี เคนคำภา
6414590010@rumail.ru.ac.th
<p style="font-weight: 400;"> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนประชารัฐวิทยาเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนประชารัฐวิทยาเสริม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 100 คน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด ดังนั้นประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับ 1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยด้านผู้เรียนรู้ 3) ปัจจัยด้านครูผู้สอน 4) ปัจจัยด้านครอบครัว และ 5) ปัจจัยด้านโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<em>M</em>) ค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน (<em>SD</em>) ค่าร้อยละ (%) และค่าความเชื่อมั่น (Reliability)</p> <p style="font-weight: 400;"> ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านลำดับจากมากไปน้อย ปัจจัยด้านโรงเรียน พบว่า โรงเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สืบค้นความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษและมีสื่อการเรียนที่ทันสมัย อยู่ในระดับมาก ในด้านครูผู้สอน พบว่า ผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยในการสื่อสารภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก ในด้านผู้เรียน พบว่า นักเรียนตระหนักถึงประโยชน์ต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก และ ด้านครอบครัว พบว่า ครอบครัวของนักเรียนสนับสนุนในการเรียนภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลจากปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำแนกตามเพศของผู้ตอบแบบสอบถาม ระดับการศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยรายวิชาภาษาอังกฤษ และระยะเวลาในการศึกษาภาษาอังกฤษ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ</p>
2023-07-14T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15235
การพัฒนาระบบศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
2023-05-24T02:22:26+00:00
ชีวัน เขียววิจิตร
cheewan@satitpatumwan.ac.th
พงศพิชญ์ แก้วกุลธร
journal.edswu@gmail.com
พีรนุช ธีรอรรถ
journal.edswu@gmail.com
พรพรรณ เสริมพงษ์พันธ์
journal.edswu@gmail.com
พงศธร นันทธเนศ
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการระบบศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน 2) เพื่อพัฒนาระบบศูนย์ฝึกฯ และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบศูนย์ฝึกฯ วิธีดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของระบบศูนย์ฝึกฯ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบศูนย์ฝึกฯ โดยการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลในระยะที่ 1 และผลการสนทนากลุ่ม พร้อมทั้งสร้างคู่มือการใช้ระบบศูนย์ฝึกฯ ระยะที่ 3 การหาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของระบบศูนย์ฝึกฯ มี 2 ขั้นตอน 1) การหาประสิทธิภาพโดยการทดลองใช้ระบบศูนย์ฝึกฯ กับครูพี่เลี้ยงผ่านโครงการฝึกอบรมศักยภาพครูพี่เลี้ยง วัดความรู้ของครูพี่เลี้ยง และสอบถามความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อระบบศูนย์ฝึกฯ 2) การหาประสิทธิผลของระบบศูนย์ฝึกฯ ทำโดยการให้ครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการฝึกอบรมไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนิสิต ประเมินความสามารถของนิสิตและความพึงพอใจที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของครูพี่เลี้ยง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างระบบศูนย์ฝึกฯ ประกอบด้วยงาน 4 ฝ่าย คือ 1) ฝ่ายงานวิจัยทางการศึกษา 2) ฝ่ายงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) ฝ่ายงานนิเทศและพัฒนาวิชาชีพครู 4) ฝ่ายสำนักงานวิจัย นิเทศและฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งแต่ละฝ่ายมีผู้รับผิดชอบและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน ผลการหาประสิทธิภาพของระบบศูนย์ฝึกฯ ได้ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 84.13 และประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 84.17 แสดงว่าระบบศูนย์ฝึกฯ สามารถนำไปใช้งานได้ คู่มือการใช้ระบบศูนย์ฝึกฯ ที่สร้างขึ้นมีผลการประเมินอยู่ในระดับมีคุณภาพมากที่สุด และครูพี่เลี้ยงมีความพึงพอใจต่อระบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การหาประสิทธิผลของระบบศูนย์ฝึกพบว่า นิสิตที่ผ่านการฝึกจากครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการฝึกอบรมมีความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อการฝึกประสบการณ์ของครูพี่เลี้ยงตามระบบที่พัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> <p> </p> <p>The objectives of this research were to 1) study the problems and the needs for Student Teacher Center System of Patumwan Demonstration School, 2) develop the Student Teacher Center System, and 3) study the efficiency and the effectiveness of the Student Teacher Center System. The research was conducted in 3 stages. For phase 1, the study of the problems and the needs for the Student Teacher Center System. The research instrument was an In-depth interview. Phase 2 was the development of the Student Teacher Center System by analyzing the data from Phase 1 and focus group discussion. The research instrument was the manual for using the Student Teacher Center System. Phase 3 was the verification of the efficiency and the effectiveness of the Student Teacher Center System, which consists of 2 steps as following : 1) The verification of the efficiency by doing the experiment of the Student Teacher Center System with the supervising teachers from the supervising teachers potential training. During this step supervising teachers’ knowledge had been assessed and satisfaction questionnaire toward the Student Teacher Center System had been conducted. 2) The verification of the effectiveness of the Student Teacher Center System by conducting the field work experience of supervising teachers with the student teacher. The data were collected by evaluating student teacher’s ability and satisfaction toward the field work experience by the supervising teachers.</p> <p>The findings of the study demonstrated that the structure of the Student Teacher Center System consists of 4 groups as following: 1) the educational research 2) the field work experience of student teacher 3) the supervision and teaching profession development 4) the office of the research, supervision and the field work experience of student teacher. Each group has responsible person with obvious roles and duties. The results of the efficiency verification were the process efficiency (E1) was equal to 84.13 and the result efficiency (E2) was equal to 84.17. These results were shown that the Student Teacher Center System can be used. The developed manual was suitable at a very good level. And the supervising teachers have overall satisfaction toward the Student Teacher Center System at a very good level. The effectiveness verification was shown that student teacher, who had been trained by the supervising teachers have overall learning management ability at a good level and have overall satisfaction toward the field work experience by the supervising teachers from the developed Student Teacher Center System at a good level.</p>
2023-07-14T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15255
การเสริมสร้างทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัลด้วยนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัย
2023-05-24T02:38:49+00:00
ปฐมา สุขทวี
frainzsky@gmail.com
เพ็ญนภา กุลนภาดล
journal.edswu@gmail.com
ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนานวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัยเพื่อเสริมสร้างทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัล 2.ศึกษาผลของนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัยที่มีต่อการเสริมสร้างทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างคือ พ่อแม่ที่มีลูกอายุ 13 – 15 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 20 คู่ ทำการสุ่มอย่างง่ายเข้าสู่กลุ่มทดลอง 10 คู่ และกลุ่มควบคุม 10 คู่ ซึ่งมีความสมัครใจเข้าร่วมการทดลองและมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัลในระดับ ต่ำกว่าเกณฑ์คะแนนปกติ (Norms) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัล และนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัย สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1.นวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัย ดำเนินการให้การปรึกษาจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 – 90 นาที 2.ศึกษาผลของนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัยที่มีต่อการเสริมสร้างทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัล พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัย มีคะแนนทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัลในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาครอบครัวร่วมสมัย มีคะแนนทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัลในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง</p>
2023-07-14T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15506
กระบวนการพิจารณาบทความ
2023-07-14T11:29:50+00:00
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
journal.edswu@gmail.com
<p>กระบวนการพิจารณาบทความ</p>
2023-07-14T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15507
นโยบายและคุณลักษณะของการตีพิม์บทความ
2023-07-14T11:32:00+00:00
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
journal.edswu@gmail.com
<p>นโยบายและคุณลักษณะของการตีพิม์บทความ</p>
2023-07-14T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15508
รูปแบบการเตรียมบทความ
2023-07-14T11:33:25+00:00
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
journal.edswu@gmail.com
<p>รูปแบบการเตรียมบทความ</p>
2023-07-14T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15421
กองบรรณาธิการ
2023-06-19T11:20:35+00:00
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
journal.edswu@gmail.com
<p>กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p>
2023-06-19T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15422
บรรณาธิการแถลง
2023-06-19T11:24:32+00:00
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
journal.edswu@gmail.com
<p>กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p>
2023-06-19T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ