ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7

Main Article Content

นฏกร ปั้นพุ่มโพธิ์
สมศรี ทองนุช
สุเมธ งามกนก

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ปีการศึกษา 2560 จังหวัดสระแก้วที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 327คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ได้แก่ค่าเฉลี่ย ( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน( )การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้แก่ด้านคุณภาพการสอนของครูด้านความพึงพอใจในการทำงานของครูและด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาตามลำดับ (2) ระดับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้แก่ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารและสนับสนุนและด้านการบริหารสถานศึกษาตามลำดับ (3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกตัวแปรโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง0.602 - 0.814 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกมากที่สุดคือด้านวัฒนธรรมสถานศึกษาและตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่ำที่สุดคือด้านคุณภาพการสอนของครู และ (4) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาพบว่าตัวแปรด้านวัฒนธรรมสถานศึกษาด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหารด้านการได้รับการสนับสนุนทางสังคมของครูและด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาได้ร้อยละ 74 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้   คำสำคัญ : ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ, การบริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต7 ABSTRACT The purpose of this research was to investigate the factors affecting the success of school administration of the school in Secondary Educational Service Area Office 7. The data were collected from government teacher and education personnel in the 2017 academic year. The sample consisted of 327 selected by Purposive sampling, The research instrument was a five rating scale questionnaire. The data was analyzed by using mean, standard deviation, correlation coefficient, and multiple regression analysis. The findings were as follows : (1) The level of factors affecting the success of schoo ladministration. Were ratedat the high level. When considering each aspect When considering each aspect arranging from the greatest to the lowest means as follows : the quality of teacher, teacher’ ssatisfaction, and school environment, respectively. (2) The level of successful administration of school in the aspects of school administration. Were rated at the high level. When considering each aspect arranging from the greatest to the lowest means as follows : the student’s quality development, education personnel development, administration and support, and school management, respectively. (3) The correlation coefficients for allvariables. Were positively correlated at the 0.01 levelof significance with the correlation coefficients values of 0.602 – 0.814. Variable with the greatest positi vealue included the school culture, whereas the variable with the least positive valued was teachers' quality of teaching. (4) Analysis of the factors affecting the success in school administration indicates that the Factors of school culture, administrator’s vision, social support and school environment were accounted for 74 percent in prediction of the success of school administration with statistically significant level of 0.01. The prediction equations were shown as follows:   Keyword : Factors Affecting the Success, School Administration, Educational Service Area Office 7

Article Details

How to Cite
ปั้นพุ่มโพธิ์ น., ทองนุช ส., & งามกนก ส. (2018). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/10405
Section
บทความวิจัย (Research Articles)