ความสำเร็จของการขยายผลองค์ความรู้ทางวิชาการและวิธีจัดการเรียนการสอนไปยังโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
EVALUATION OF THE SUCCESS OF EXTENDING ACADEMIC KNOWLEDGE AND TEACHING METHODS TO UPPER SECONDARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION
Keywords:
การประเมินโครงการ, การขยายผลองค์ความรู้, เครือข่ายทางวิชาการ , การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ตามโครงการความร่วมมือกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ในการขยายผลองค์ความรู้ทางวิชาการและวิธีจัดการเรียนการสอนไปยังโรงเรียนเครือข่ายระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยแหล่งข้อมูลบุคคล ประกอบไปด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารและครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 11 โรงเรียน กลุ่มที่ 2 ครูโรงเรียนเครือข่าย ประชากรจำนวน 109 โรงเรียน กลุ่มที่ 3 นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 11 โรงเรียน และกลุ่มที่ 4 นักเรียนโรงเรียนเครือข่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม ประเด็นการสัมภาษณ์/สนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์เชิงบรรยายด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูโรงเรียนเครือข่ายสามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้เหมาะสมในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.41 จากคะแนนเต็ม 5) และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้เหมาะสมในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.36 จากคะแนนเต็ม 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.01 จากคะแนนเต็ม 5) 2. กระบวนการขยายผลองค์ความรู้และวิธีจัดการเรียนการสอนของโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.47 จากคะแนนเต็ม 5) วิทยากรศูนย์ขยายผลกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และครูโรงเรียนเครือข่าย มีเจตคติที่ดีต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.55 จากคะแนนเต็ม 5) โดยการพิจารณารายด้านพบว่าเจตคติที่ดีต่อ “คุณภาพวิทยากร” “เนื้อหาสาระและกิจกรรมการอบรม” “สื่อ/วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการอบรม” และ “การติดตามและกำกับดูแล” อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (คะแนนเฉลี่ย 4.42 ถึง 4.57 จากคะแนนเต็ม 5) 3) ประสิทธิผลของสื่อ/อุปกรณ์ที่ได้รับจากโครงการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.52 จากคะแนนเต็ม 5) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้สอนและผู้เรียนหลังจากการใช้สื่อ/อุปกรณ์ที่จัดซื้อจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สอดคล้องเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของโครงการReferences
เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 8. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2559). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องอาจ นัยพัฒน์. (2561). การวิจัยสถาบัน: เครื่องมือพัฒนาสถาบันสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
Tarricone, P. & Luca, J. (2002). Successful teamwork: A case study, in Quality Conversations, Proceedings of the 25th HERDSA Annual Conference, Perth, Western Australia, 7-11 July 2002: pp 640.