การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย A STUDY OF FACTORS AFFECTING THE ENGLISH-SPEAKING SKILLS OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS

Main Article Content

ธันยานี เคนคำภา

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนประชารัฐวิทยาเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนประชารัฐวิทยาเสริม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 100 คน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด ดังนั้นประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับ 1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยด้านผู้เรียนรู้ 3) ปัจจัยด้านครูผู้สอน 4) ปัจจัยด้านครอบครัว และ 5) ปัจจัยด้านโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าร้อยละ (%) และค่าความเชื่อมั่น (Reliability)
            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านลำดับจากมากไปน้อย  ปัจจัยด้านโรงเรียน พบว่า โรงเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สืบค้นความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษและมีสื่อการเรียนที่ทันสมัย อยู่ในระดับมาก ในด้านครูผู้สอน พบว่า ผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยในการสื่อสารภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก ในด้านผู้เรียน พบว่า นักเรียนตระหนักถึงประโยชน์ต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก และ ด้านครอบครัว พบว่า ครอบครัวของนักเรียนสนับสนุนในการเรียนภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลจากปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำแนกตามเพศของผู้ตอบแบบสอบถาม ระดับการศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยรายวิชาภาษาอังกฤษ และระยะเวลาในการศึกษาภาษาอังกฤษ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

Article Details

How to Cite
เคนคำภา ธ. (2023). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: A STUDY OF FACTORS AFFECTING THE ENGLISH-SPEAKING SKILLS OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 149–161. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15300
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กําไลทิพย์ ปัตตะพงศ์. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบความเต็มใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยศิลปากร

ณัฐญา หุนน้อย ปัญหา. (2562). ศึกษาปัญหาและความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของ พนักงานไทย: กรณีศึกษา บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิยาพร ศิลป์. (2559). ปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในการทำงานของวิศวกร โยธา: ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ประกอบธุรกิจกิจก่อสร้าง.วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ธีราภรณ์ พลายเล็ก. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. ได้รับทุนอุดหนุนจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร.

พิมลมาศ เกตุฉาย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ เป็นเจ้าของภาษา: กรณีนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Amoah, S., & Yeboah, J. (2021). The speaking difficulties of Chinese EFL learners and their motivation towards

speaking the English language. Journal of Language and Linguistic Studies, 17(1), 56-69. Doi: 10.52462/jlls.4

Bloom, Benjamin S. 1976. Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill.

Brown, H.D. 1987. Principles of Language Learning and Teaching. Englewood Cliffs, Prentice-Hall.

Gardner, R.C., and WallaceE.Lambert.1972. A Social Psychology and Second Language Learning. London: Arnold Publisher Ltd.

Gardner, R.C.1973.Focus on Learner: Prag- matic Perspectives for the language Teacher. Rowley Mass: Newbury House.

Harmer, Jeremy. 1991. The Practice of English Language Teaching. London: Longman. Holec, H. 1981. Autonomy and Foreign Language Learning. Oxford: Pergamon.

Lai-Mei Leong. and Seyedeh Masoumeh Ahmadi. (2017). An Analysis of Factors Influencing Learners’ English-Speaking Skill. International Journal of Reseal of Research in English Education.

Mohammad Javad Riasati. (2018). Willingness to speak English among foreign language learners: A causal model, Cogent Education, 5:1, 1455332, DOI: 10.1080/2331186X.2018.1455332

Rubin, J. 1975. What the good language learner can help us. TESOL Quarterly, Vol.19. No.9.

Savignon, Sandra J. 1972. Communicative Competence in An Experiment in Foreign Language Teaching, 24. Edited by C. Roger. Montreal: Marcel Dedier.

Scott, Roger. 1981. Speaking in Keith’Johnson and Keith Morrow in Communication in the Classroom. London: Longman Group Ltd.

Spolsky, Bernard. 1969. Attitudinal Aspects of Second Language Learning. Language Learning no. 14

Wen, W. P., & Clément, R. (2003). A Chinese conceptualisation of willingness to communicate in ESL. Language, Culture and Curriculum, 16(1), 18-38.

Yashima, T. (2002). Willingness to communicate in a second language: The Japanese EFL context. Modern Language Journal, 86(1), 54-66.