วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre
<p>วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดทำโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนนักวิชาการทั่วไป และเป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับชาติและพัฒนาไปสู่มาตรฐานในระดับสากลต่อไป</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่วารสาร</strong> ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</strong> เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย [Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre] และอยู่ใน <strong>วารสารกลุ่มที่ 2</strong> (จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567)<br /><br /><strong>กองบรรณาธิการวารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</strong> มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ (Processing fees and/or Article Page) จากผู้นิพนธ์บทความ จำนวน 3,500 บาท / บทความ </p> <p>การพิจารณาบทความ จะผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน / บทความ </p> <p> </p>
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
en-US
วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2774-0781
-
วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16277
<p>วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1</p>
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-06-26
2024-06-26
19 1
-
การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขโดยใช้โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15673
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และ 2) ศึกษาผลของนวัตกรรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทำงานในประเทศไทย มีค่าเฉลี่ยภูมิคุ้มกันทางใจตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 35 ลงมา และมีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 20 คน ทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เข้าสู่กลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดภูมิคุ้มกันทางใจ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .871 และนวัตกรรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยา จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที โดยครั้งที่ 1 และครั้งที่ 8 เป็นการปรึกษาแบบพบหน้า ครั้งที่ 2-5 เป็นการให้การปรึกษาแบบออนไลน์ และครั้งที่ 6-7 เป็นการศึกษาด้วยตนเอง และ 2) การศึกษาผลของนวัตกรรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนภูมิคุ้มกันทางใจในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองมีคะแนนภูมิคุ้มกันทางใจในระยะหลังการทดลองและระยะติตตามผลสูงกว่าระยะก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p>
สินีนาฏ วิทยพิเชฐสกุล
เพ็ญนภา กุลนภาดล
ชนัดดา แนบเกษร
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
1
17
-
การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15728
<p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วในการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอายุ 8-10 ปี ที่เริ่มเรียนไวโอลินในโรงเรียนนานาชาติออสเตรเลีย จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ 1) ดำเนินการสอบถามความเหมาะสมของชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น (ครั้งที่1) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 คน 2) ดำเนินการสอบถามความเหมาะสมของชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น (ครั้งที่ 2) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 คน 3) ดำเนินการหาประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้นโดยใช้เกณฑ์ 80/80 โดยสอนกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 5 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 4) ดำเนินการสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ E1/E2 หรือ 80/80 ของชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น มีประสิทธิภาพเชิงประจักษ์อยู่ที่ระดับ 81.22/95.56 นั่นคือชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้นมีประสิทธิภาพของกระบวนการที่ระดับ 81.22 และมีประสิทธิภาพผลลัพธ์ที่ระดับ 95.56 โดยชุดแบบฝึกการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น มีจำนวน 20 แบบฝึกหัด โดยเรียงลำดับการวางระบบนิ้ว จากการเล่นสีสายเปล่า สลับกับการใช้นิ้ว 1 2 3 และ 4 ตามลำดับ ผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพหาความเที่ยงตรง (Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ประเมินในลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating scale) 5 ระดับ ซึ่งผลการประเมินคุณภาพของชุดแบบฝึกหัด มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.65 คะแนน อยู่ในระดับเหมาะสมที่สุด 2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วในการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย = 4.45 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.51 ซึ่งผลการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อทางการเรียนการสอนดนตรีให้มีประสิทธิภาพเพื่อเกิดประสิทธิผลต่อไป</p>
พกนก ชุมทอง
ฌานิก หวังพานิช
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
18
29
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15758
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยท่ีเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา 2) ระดับของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จํานวน 86 แห่ง ได้จากการกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน จากน้ันทําการสุ่มแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษาแล้วทําการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู สถานศึกษาละ 4 คน รวม 344 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลง ทางดิจิทัล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโดยวิธีแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการ บริหารของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษาอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยทั้งหมดร่วมกันทํานายการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการบริหารของสถานศึกษาได้ร้อยละ 77.2</p>
ศิวพร แต้มคู
กุลชลี จงเจริญ
ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
30
45
-
ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15716
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 กลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ในสหวิทยาเขตวิมานลอย จำนวน 6 โรงเรียน จำนวนห้องเรียน 24 ห้อง จำนวนนักเรียน 811 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโกรกพระ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมที่มีความเหมาะสมระดับมาก ( x = 4.34, S.D. = 0.21) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความตรงระหว่าง 0.67 - 1.00 ค่าความยากระหว่าง 0.40 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 – 0.74 และ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าความตรงระหว่าง 0.67 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26 – 0.64 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระกันและการทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 11.60 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.71 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 23.80 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.12 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 23.80 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.12 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 4.48, S.D. = 0.62)</p>
อนรรฆวี เรืองมาลัย
พรรณราย เทียมทัน
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
46
59
-
การศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15717
<p>การวิจัยเรื่อง การศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนของผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูแต่ละสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 210 คน แบ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 21 คน ได้มาจากจำนวนประชากรที่เป็นผู้บริหารทั้งหมด และครู 189 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 34 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า วัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.41 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการให้ความสำคัญกับผู้เรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.47 รองลงมาคือ ด้านการกระจายอำนาจ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.46 และด้านที่มีการปฏิบัติตํ่าสุดคือ ด้านการทำงานเป็นทีม โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.34 จากผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ผลการวิจัยพบว่า การทำงานเป็นทีม เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับที่ตํ่าที่สุด ดังนั้นให้มีการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมภายในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษาร่วมกับครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา ร่วมมือกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ประสานงานกันในการปฏิบัติงาน มีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน และมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานจนบรรลุความสำเร็จร่วมกันอย่างมีคุณภาพ</p>
ณัฐภูมิ จับคล้าย
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
60
69
-
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการพัฒนาต้นแบบโปรแกรมสุขภาพจิตโรงเรียน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15925
<p>ที่ผ่านมา มีการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานสุขภาพจิตโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้ครูไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ จึงนำมาสู่การศึกษาในครั้งนี้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบโปรแกรมสุขภาพจิตโรงเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ในเขตบางกอกน้อย สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปัจจุบันมีโรงเรียนเพียงหนึ่งแห่งเท่านั้นที่มีการดำเนินงานด้านสุขภาพจิต การวิจัยนี้ ใช้วิธีเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research: PAR) ประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผน ปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนผล ร่วมกับแนวคิดการทำงานด้านสุขภาพจิตโรงเรียนที่ต้องพึ่งพาความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อีกทั้ง นำแนวคิดด้านนวัตกรรมและการคิดเชิงออกแบบมาใช้ในกระบวนการพัฒนาต้นแบบเพื่อต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่และเติมเต็มในสิ่งที่ต้องการ การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (deep interview), การสนทนากลุ่ม (focus group), และการคิดเชิงออกแบบ (design thinking) โดยคัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงที่ประกอบด้วยตัวแทนผู้บริหารโรงเรียนและครูที่เกี่ยวข้องกับงานสุขภาพจิตจำนวน 17 คน จากกระบวนการพัฒนาพบว่า ครูมีเวลาน้อย ภาระงานมาก และขาดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงข้อจำกัดด้านงบประมาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นข้อท้าทายในการพัฒนาต้นแบบ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าบุคลากรทางการศึกษาต้องการระบบโปรแกรมดูแลสุขภาพจิตโรงเรียนในรูปแบบเว็บไซต์ที่มีฟังก์ชันการประเมิน การให้ความรู้ รวมถึงระบบส่งต่อที่ครอบคลุม ร่วมทั้งมีหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขเข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ การศึกษานี้เน้นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างครู ผู้บริหารโรงเรียน และผู้วิจัยในการพัฒนาโปรแกรมสุขภาพจิตโรงเรียน โปรแกรมนี้ถูกออกแบบให้เป็นเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย เพื่อคัดกรอง ประเมิน และให้ความช่วยเหลือทันทีให้กับนักเรียนที่พบเจอความท้าทายด้านสุขภาพจิต นอกจากนี้ โปรแกรมยังให้เครื่องมือการประเมินและคำแนะนำสำหรับบุคลากร พร้อมทั้งทำให้การสื่อสารกับผู้ปกครองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานในทิศทางนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างระบบที่สนับสนุนและตอบสนองต่อสุขภาพจิตของนักเรียนอย่างที่เขาต้องการ</p>
ธนาภรณ์ เนตรสุวรรณ
ชาญวิทย์ พรนภดล
วัลลภ อัจสริยะสิงห์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
70
85
-
ผลของการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อความเข้มแข็งภายในตนเอง ของเยาวชนที่ติดสารเสพติด
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15917
<p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในตนเองของเยาวชนที่ติดสารเสพติด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ เยาวชนที่ติดสารเสพติดในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน โดยใช้ระยะเวลาในการทดลอง 3 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนทดลอง ระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นและแบบวัดความเข้มแข็งภายในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซํ้า ประเภท 1 ตัวแปรระหว่างกลุ่มและ 1 ตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความเข้มแข็งภายในตนเองระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีคะแนนความเข้มแข็งภายในตนเองในระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
พนิดา ทัพทวี
วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
เพ็ญนภา กุลนภาดล
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
86
100
-
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15916
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random sampling) จำนวน 357 คน ใช้แบบสอบถามที่มีค่า α = 0.98 เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r= 0.864) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
จตุพร ใจหาญ
รัตนา กาญจนพันธุ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
101
111
-
การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15929
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เปรียบเทียบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 โดยใช้ วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1) การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้ขนาดสถานศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง-ขนาดเล็ก 2) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยสุ่มตามสัดส่วนของโรงเรียนแต่ละขนาด จากการเปิดตารางของ Cohen ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของครู ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe’s Multiple Comparison Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 4) ครูที่อยู่ในขนาดสถานศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูที่มีขนาดสถานศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการส่งเสริมความร่วมมือในองค์การ และด้านการสร้างทีมงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
ปรัชญา นาคประสิทธิ์
รัตนา กาญจนพันธุ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
112
125
-
การพัฒนาระบบการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอทสำหรับรายวิชาการรู้ดิจิทัล
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16014
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอทสำหรับรายวิชาการรู้ดิจิทัล 2) หาประสิทธิภาพของระบบแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอท และ 3) ประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน จำนวน 5 คน โดยการใช้วิธีการแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างของการประเมินความพึงพอใจของการใช้งานระบบแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอท จำนวน 32 คน โดยการใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ระบบการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอทสำหรับรายวิชาการรู้ดิจิทัล แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอทสำหรับรายวิชาการรู้ดิจิทัลสามารถแจ้งผลคะแนนแบบฝึกหัดท้ายบท คะแนนชิ้นงานปฏิบัติ และคะแนนสอบผ่านไลน์แอปพลิเคชัน โดยโต้ตอบการสนทนาอัตโนมัติกับผู้เรียนได้ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.761 และ 3) ความพึงพอใจโดยผู้ใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.673 ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า ระบบการแจ้งผลคะแนนอัตโนมัติด้วยไลน์แชทบอทช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนและผู้สอน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแจ้งผลคะแนนให้กับผู้เรียนได้</p>
พรวนา รัตนชูโชค
จุฬาวลี มณีเลิศ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
126
138
-
การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษาโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15971
<p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษา สร้างโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษาและเปรียบเทียบผลการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1 - 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ จำนวนทั้งหมด 1,042 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนวที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1 - 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 180 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง จากนักศึกษาที่มีคะแนนความยืดหยุ่นทางอารมณ์ระดับปานกลาง ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 12 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 6 คน เพื่อเข้ารับการให้คำปรึกษากลุ่ม และกลุ่มควบคุม จำนวน 6 คน ไม่ได้รับการให้คำปรึกษากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 และการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60 - 1.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติบรรยาย และสถิติพาราเมตริก(F-test) โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้าชนิดสองทาง (Two-Way ANOVA Repeated Measurement) ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1.ระดับความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒโดยรวมและรายด้าน พบว่า นักศึกษามีค่าเฉลี่ยความยืดหยุ่นทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการต่อสู้เอาชนะอุปสรรค มีคะแนนสูงที่สุด รองลงมาคือด้านมีกำลังใจ และด้านทนต่อแรงกดดัน 2. การให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป โดยการประยุกต์ใช้ 7 ทฤษฎีและ 14 เทคนิคการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษา 3. ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษาโดยรวมของกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการให้คำปรึกษากลุ่มมีผลให้ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษาเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น</p>
อสมา คัมภิรานนท์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
139
155
-
THE DECISIONS TO STUDY AT CHIANG MAI UNIVERSITY OF OVERSEAS STUDENTS DURING THE OUTBREAK OF COVID-19
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15890
<p>This research aimed at examining the effects of various marketing-mix factors on the decisions of overseas students to select to study at Chiang Mai University during the COVID-19 pandemic going-on period compared with the normality period. It used an online questionnaire as a tool to collect data and information, for analysis by descriptive and inferential statistics, from 236 samples of overseas students that registered for enrollment in classes/courses at CMU in the 2021 academic year. The investigation results indicate there is a significant statistical difference between the importance-ranking of various deciding marketing mix factors by overseas students that registered for study during the pre-COVID-19 pandemic time and that by overseas students who registered for study during the COVID-19 pandemic period. Consequently, some changes and attempts can be made to strengthen the high-ranking marketing mix elements found in this study to attract more overseas students to study at CMU. The suggested pursuits include offering diverse, cutting-edge, and demand-responsive courses/study programs; providing scholarships to overseas students; backing the professors to be amiable and approachable in the view of foreign students; devising appropriate and alternative types of admission to facilitate international student recruitment; and development to maintain the study-life balanced environment on campus under the concept of CMU Smart Campus as a New Normal.</p>
Thawarot Thongkham
Rossarin Osathanunkul
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
156
172
-
การศึกษาหลักสูตรที่ไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานหลักสูตรปีการศึกษา 2557-2564 และแนวทางพัฒนาหลักสูตรให้ผ่านการกำกับมาตรฐาน กรณี :ศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15686
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักสูตรที่ไม่ผ่านการกำกับมาตฐาน ปีการศึกษา 2557-2564 2) ศึกษาสาเหตุที่ไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานหลักสูตร 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้ผ่านการกำกับมาตรฐานหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ หลักสูตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นทุกระดับที่เปิดสอนระหว่างปีการศึกษา 2557-2564 จำนวน 311 หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตรทั้งหมด จำนวน 311 หลักสูตร ที่มีการตรวจประเมินคุณภาพภายในหลักสูตร ระหว่างปีการศึกษา 2557-2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปีการศึกษา 2557-2564 หลักสูตรทุกระดับการศึกษา ไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานรวม 106 หลักสูตร (ร้อยละ 33.54) จำแนกเป็น หลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 25 หลักสูตร (ร้อยละ 26.31) หลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 47 หลักสูตร (ร้อยละ 34.81) หลักสูตรระดับปริญญาเอกจำนวน 34 หลักสูตร (ร้อยละ 40.00) และพบว่า ปีการศึกษา 2557 มีหลักสูตรไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานมากที่สุด จำนวน 39 หลักสูตร และมีจำนวนลดลง จนในปีการศึกษา 2564 มีหลักสูตรไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานเพียง 2 หลักสูตร 2) สาเหตุที่ไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานหลักสูตร ปีการศึกษา 2557-2564 พบว่าหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และหลักสูตรปริญญาเอก ไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานมากที่สุดคือ เกณฑ์การกำกับมาตรฐานข้อที่ 1 จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร รองลงมาคือ เกณฑ์การกำกับมาตรฐานข้อที่ 2 คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และเกณฑ์การกำกับมาตรฐานข้อที่ 3 คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร 3) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้ผ่านการกำกับมาตรฐาน ประกอบด้วย (1) จัดทำแผนบริหารอัตรากำลังทั้งในระดับสถาบัน ระดับคณะและระดับหลักสูตร (2) การจัดสรรอัตรากำลังทดแทนการเกษียณ ลาออก โอนย้าย เพื่อให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน (3) การจัดทำแผนส่งเสริมและพัฒนาคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกและตำแหน่งทางวิชาการ (4) ส่งเสริมการทำวิจัยเป็นทีมและจูงใจให้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติมากกว่าการนำเสนอผลงานวิชาการในที่ประชุมวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ (5) กำหนดแนวปฏิบัติและขั้นตอนในการปรับปรุงหลักสูตร (6) การเตรียมความพร้อมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้มีความเข้าใจกระบวนการพัฒนาหลักสูตร แบบฟอร์มและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (7) กำหนดระยะเวลาในการกลั่นกรองหลักสูตรและลดขั้นตอนการพิจารณาหลักสูตรให้รวดเร็วมากขึ้น (8) พัฒนาระบบแจ้งเตือนและติดตามหลักสูตรก่อนครบรอบการปรับปรุงหลักสูตรทุก 2 ปี เป็นต้น</p>
ภาวนา กิตติวิมลชัย
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
173
186
-
สาเหตุของการใช้ความรุนแรงระหว่างคู่สมรสของครอบครัวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดยะลา
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16095
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุของการใช้ความรุนแรงระหว่างคู่สมรสของครอบครัวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดยะลา โดยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลักในจังหวัดยะลา คือ สามีหรือภรรยาที่อยู่ในครอบครัวพหุวัฒนธรรมที่มีปัญหาการใช้ความรุนแรงระหว่างกัน จำนวน 13 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง (purposive sampling) คือเป็นคู่สมรสที่สามีนับถือศาสนาพุทธที่มีการเปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาอิสลามตามภรรยา มีการเข้าพิธีนิกะห์หรือจดทะเบียนสมรส วิเคราะห์ผลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าสาเหตุของการใช้ความรุนแรงระหว่างคู่สมรสของครอบครัวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดยะลามีสาเหตุที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. การสร้างพฤติกรรมที่นำไปสู่ความรุนแรงซํ้า 2. การขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและอาชีพ 3. ความแตกต่างทางความเชื่อและทัศนคติ</p>
โศจิรัตน์ ศุภนิจวัฒนา
เกษตรชัย และหีม
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-05-28
2024-05-28
19 1
187
198
-
การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ โปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16038
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET เพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET เพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับโปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET เรื่องแสงและการมองเห็น 2) แบบวัดแนวคิด เรื่องแสงและการมองเห็น 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน 4) แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ของครู ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 75 /80 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 70/70 ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโปรแกรมสถานการณ์จำลอง PhET มีการพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่องแสงและการมองเห็นโดยพบว่า หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ นักเรียนร้อยละ 87 มีแนวคิดถูกต้อง (SU) รองลงมาร้อยละ 7 มีแนวคิดถูกต้องบางส่วน (PU) ร้อยละ 4 มีแนวคิดถูกต้องบางส่วนและคลาดเคลื่อนบางส่วน (PU/SM) ร้อยละ 2 มีแนวคิดคลาดเคลื่อน (SM) และไม่มีนักเรียนคนใดที่อยู่ในระดับไม่มีแนวคิด (NU) และนอกจากนี้พบว่าก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนค่าเฉลี่ยของแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ 1.33 คะแนน หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 3.84 และค่า S.D ก่อนเรียนอยู่ที่ 0.96 หลังเรียนอยู่ที่ 3.86 คะแนน ซึ่งมีค่าคะแนน จัดอยู่ในกลุ่มพัฒนาการระดับสูง</p>
ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ
มัลลิกา ดารากัย
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-06-18
2024-06-18
19 1
199
212
-
แนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16049
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก และศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก โดยมีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 210 คน แบ่งออกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงและครู จำนวน 189 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งขั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) <span style="font-size: 0.875rem;">ผลการศึกษา ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลกในภาพรวม </span><span style="font-size: 0.875rem;">อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านมารยาทในการใช้งานดิจิทัล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสื่อสารผ่านระบบดิจิทัล 2) </span><span style="font-size: 0.875rem;">ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก พบว่า ผู้บริหารสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดควรสร้างแผน นโยบายและทิศทางพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลในด้านต่างๆให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครบทั้ง 5 ด้าน มีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารงานหรือการจัดการเรียนการสอนในแต่ละสถานศึกษาได้ มีการสนับสนุนงบประมาณการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา มีการจัดแหล่งเรียนรู้ เข้านิเทศติดตาม</span><span style="font-size: 0.875rem;">การปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง</span></p>
อนพัทย์ บัวคง
สถิรพร เชาวน์ชัย
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-06-18
2024-06-18
19 1
213
228
-
สารบัญ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16273
<p>สารบัญ</p>
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-06-26
2024-06-26
19 1
ฉ
ฌ
-
กระบวนการพิจารณาบทความ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16274
<p>กระบวนการพิจารณาบทความ</p>
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-06-26
2024-06-26
19 1
229
229
-
นโยบายและคุณลักษณะของการตีพิมพ์บทความ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16275
<p>นโยบายและคุณลักษณะของการตีพิมพ์บทความ</p>
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-06-26
2024-06-26
19 1
230
240
-
รูปแบบการเตรียมบทความ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16276
<p>รูปแบบการเตรียมบทความ</p>
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-06-26
2024-06-26
19 1
241
243
-
บรรณาธิการแถลง
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16272
<p>บรรณาธิการแถลง</p>
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-06-26
2024-06-26
19 1
จ
จ
-
กองบรรณาธิการ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16271
<p>กองบรรณาธิการ</p>
กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-06-26
2024-06-26
19 1
ก
ง