การพัฒนารูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง ศึกษาประสิทธิผล และศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย มีการดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานทางด้านการฝึกพูดและแก้ไขการพูดสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และครูศิลปะ จำนวน 25 คน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักแก้ไขการพูดที่มีประสบการณ์ในการแก้ไขการพูดไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบการออกเสียงพูด 2) ชุดฝึกแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D 3) แบบประเมินความสามารถในการพูด 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D ของผู้ปกครอง 5) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D โดยใช้แบบแผนการทดลองเป็น One Group Posttest Only Design การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item - Objective Congruence : IOC) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ค่ามัธยฐาน (Median) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย อยู่ในระดับดี ประสิทธิผลของรูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย อยู่ในระดับดี ความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยของผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก และความเหมาะสมของรูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย อยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ , การแก้ไขการพูดไม่ชัด , กระบวนการฝึก AES2D , เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย ABSTRACT The purposes of this research are to develop and evaluate the effectiveness and the appropriateness of a model. There were three phases in this research. The first phase was the development of the model. The subjects are fifteen professional speech correctors and arts teachers. The second phase was the evaluation of the effectiveness of the model. The subjects included five students with mild intellectual disabilities. The final phase was the evaluation of the model. The subjects included ten speech correctors who have at least five years working experience. All subjects were selected by purposive sampling. The instrument in this research were (1) the articulation test; (2) AES2D speech correcting exercises; (3) a speech abilities test; (4) a questionnaire of the levels of parental satisfaction after the implementation of model ; and (5) a questionnaire of the appropriateness of the model . This research is a one group posttest design. The data were analyzed with the Index of Item - Objective Congruence (IOC) median mean and standard devition. The research showed that 1) The efficiency of the model was at a high level; 2) the effectiveness of the model was high; 3) the results of the satisfaction of parents toward the model were high; 4) the appropriate of the model was at a high level. Keywords : Developing a Model , Correcting Articulation Disorders, AES2D approach, Children with Mild Intellectual Disabilities
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
ลิขสิทธิ์ บ., & ศักดิ์ศิริผล ด. (2017). การพัฒนารูปแบบการแก้ไขการพูดไม่ชัดโดยใช้กระบวนการฝึก AES2D สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9849
Section
บทความวิจัย (Research Articles)