การพัฒนาแบบคัดแยกเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน

Main Article Content

ดารณี ศักดิ์ศิริผล

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบคัดแยกเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างเครื่องมือคัดแยกเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เป็นเด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครนายก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งเลือกมาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) จำนวน 444 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบคัดแยกเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความเชื่อมั่น และคะแนนเปอร์เซ็นไทล์ ผลการวิจัย พบว่า  เครื่องมือในการคัดแยกเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านที่สร้างขึ้น มีจำนวน 5 ชุด มีค่าความเชื่อมั่นในแต่ละชุดคือ ชุดที่ 1 การรู้จักตัวอักษร  ชุดที่ 2 การรู้จักชื่อและเสียงของตัวอักษร ชุดที่ 3 การวิเคราะห์เสียง ชุดที่ 4 การวิเคราะห์เสียงคล้องจอง และชุดที่ 5  การประสมเสียง แต่ละชุดมีค่าเท่ากับ.85, .80, .81, .82 และ .87 ตามลำดับ นอกจากนี้เกณฑ์การตัดสินภาวะเสี่ยง ณ ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 20 เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า  คะแนนจุดตัดชุดที่ 1 – 4 ของเด็กชายและเด็กหญิงเท่ากันดังนี้ ชุดที่ 1 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ชุดที่ 2 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 41 จากคะแนนเต็ม 44 คะแนน ชุดที่ 3 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 10 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน ชุดที่ 4 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 10 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน และชุดที่ 5 เด็กชายมีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 8 เด็กหญิงมีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 9 จากคะแนนเต็ม 13 คะแนน คำสำคัญ : แบบคัดแยกเด็กปฐมวัย เด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ABSTRACT The purposes of this study were to develop of an early childhood screening test for children at risk with learning disabilities in reading area. The sample groups of this research were 444 students selected by simple random sampling from schools under the Office of the Basic Education Commission in Nakhon Nayok Province, academic year 2017. The research instrument was the early childhood screening test for children at risk with learning disabilities in reading area. The data were analyzed by using Index of Consistency, Reliability and Percentile. The research showed that reliability coefficients for the screening device as following: (1) Name of Letter has reliability coefficient at .85.(2) Letter and Sound has reliability coefficient at .80. (3) Sound Identification has reliability coefficient at .81.(4) Rhyming Words has reliability coefficient at .82. (5) Phoneme Blending has reliability coefficient at .87. In addition, to be classified as “at risk”, the children’ scores had to be ranked below 20th percentile. The cutting point scores of the test were classified as a boy and girl. The cutting point scores were the same in a boy and a girl in first 4 tests as the following: (1) The cutting point scores of Name of Letter test were 8 out of 10. (2) The cutting point scores Letter and Sound test were 41 out of 44. (3) The cutting point scores of Sound Identification test were 10 out of 15. (4) The cutting point scores of Rhyming Words test were 10 out of 15. (5) The boy’s cutting point scores of Phoneme Blending test were 8 out of 13 and the girl’s cutting point scores were 9 out of 13. Keywords :      Early Childhood Screening Test, Children at Risk with Learning Disabilities

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ศักดิ์ศิริผล ด. (2018). การพัฒนาแบบคัดแยกเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/10388
Section
บทความวิจัย (Research Articles)