การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่

Main Article Content

วัชรพงษ์ อภิญญานุรังสี
พวงรัตน์ เกษรแพทย์
จารรุวรรณ พลอยดวงรัตน์
บุญจันทร์ สีสันต์

Abstract

บทคัดย่อ การประเมินผลการปฏิบัติงานในองค์กรทั่วไปในทุกองค์กรจะเกิดปัญหาและคำถามเรื่องความยุติธรรมในการประเมินผล โดยเฉพาะองค์กรที่มีลำดับชั้นในการบริหารที่เป็นแนวลึกเพราะผู้ได้รับการประเมินจะมีความรู้สึก ว่า ผู้บริหารระดับสูงไม่ได้รับรู้ถึง การปฏิบัติงานของตนเองอย่างแท้จริง และยิ่งถ้าผลของการประเมินไม่เป็นไป อย่างที่ผู้รับการประเมินต้องการความรู้สึกผิดหวัง และความรู้สึกว่าระบบการประเมินภายในองค์กรไม่ยุติธรรม จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การประเมินผลการปฏิบัติงานนี้ ไม่จำกัดเฉพาะองค์กรที่แสวงหาผลกำไร แต่ หมายรวมถึงโรงเรียน ทั้งโรงเรียนในภาครัฐ และโรงเรียนเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงเรียนเอกชนที่มีขนาด ใหญ่  (มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 1,500 คน) การประเมินผลจะยิ่งมีความซับซ้อนและอธิบายให้ผู้รับการ ประเมินยอมรับได้ยากที่เป็นเช่นนี้เพราะโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ ต้องแสวงหาผลกำไรจากการ จัดการเรียนการสอนหรือ จะพูดอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการขายชื่อเสียง หรือหลักสูตรเพื่อความอยู่รอดก็ได้ ดังนั้นครูในโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่จึงได้รับ มอบหมายให้มีภาระงานที่มากกว่า และแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มสาระเพื่อสร้างให้ นักเรียนมีคุณภาพ และสร้างชื่อเสียง ให้กับโรงเรียนเอกชนนั้น แต่เมื่อครูผู้รับการประเมินมีความรู้สึกว่าการ ประเมินผลการทำงานไม่เป็นธรรมจะมีโอกาสทำให้ครู ในโรงเรียนมีภาวะกดดัน นำไปสู่การไม่ยอมรับการ ประเมิน จนถึงทำให้สภาวะจิตใจตกต่ำและไม่เกิดการพัฒนาตนเองได้ในอนาคต ดังนั้นในงานวิจัยฉบับนี้จึงนำเสนอรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน         ขนาดใหญ่ โดยเริ่มจากการศึกษาสภาพ ปัจจุบัน และสภาพปัญหาของการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ การสร้างรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ จนนำไปสู่การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ ซึ่งผลการศึกษา สภาพปัจจุบันพบว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (ผู้ประเมิน และผู้รับการประเมิน) ไม่มีส่วนในการออกแบบกำหนดวิธีการ การประเมิน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ประเมิน จากผลการศึกษาสภาพ ปัจจุบัน ได้นำไปสู่การพัฒนา รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่  ดังนี้ 1) องค์ประกอบของการประเมิน ก) ผู้ประเมิน ข) วัตถุประสงค์ของการประเมิน ค) วิธีการประเมิน ง) เนื้อหาสาระที่ใช้ในการประเมิน จ) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน  ฉ) เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน ช) ผู้รับการ ประเมิน และ ซ) เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการประเมินผลการศึกษาความเหมาะสมและ ความเป็นไปได้พบว่าทุกองค์ประกอบนั้นมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก คำสำคัญ :   การประเมินผลการปฏิบัติงาน, ครูโรงเรียนเอกชน   Abstract The objective of this research is for the development of assessment forms for the performance of teachers at the large private schools. The research procedure was made up of three components. The first component was the condition of present education and the complicated nature performance assessments for teachers. The second component was the establishment of an assessment form based on the performance of teachers. The third component was the study of suitability and the possibility using the assessment form to measure the performance of teachers. The result of the research shows that:  The present conditions of private education, specifically the performance assessment of teachers at a large private school, which can be divided into eight main problems. 1) The majority of the assessors were not aware of the actual performance of teachers during the semester. They did not immediately explain the assessment results to the teachers and did not give them any advice on how to improve their performance at the end of each assessment; 2) Most of the objective assessments showed that the core of assessment only emphasizes merit adjustment and not on the improvement of teachers; 3) For the majority of those assessed, Most of the assessments usually took place near the end of the school year. The people involved in this assessment had no part in the assessment formation or plan assessment procedure; 4) Teachers were also unaware of the details of the contents of the assessment; 5) The criteria of assessment were decided by the administrative and human resources department which teachers had no part in it; 6) None of the participants, both assessors and teachers, took part in making assessment tool; 7) Most teachers did not receive an assessment result directly from their assessors; 8) Teachers did not know about technology were also involved in the assessment. From the results of the development of the assessment form for the performance of teachers at a large private school. There were eight components in the assessment procedure. The components were as follows: assessors, assessment object, assessment procedure, assessment contents, assessment tools, assessment criteria, teachers, and technology.  The results of the study regarding the suitability and possibility of the assessment form for the performance of teachers is the most significant component for this assessment. The results showed a high suitability level of each assessment component and in each component, there was a high possibility. Keyword :    PERFORMANCE APPRAISAL, TEACHERS OF PRIVATE SCHOOL

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อภิญญานุรังสี ว., เกษรแพทย์ พ., พลอยดวงรัตน์ จ., & สีสันต์ บ. (2017). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9164
Section
บทความวิจัย (Research Articles)