การพัฒนาแบบฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก

Main Article Content

พัชรี จิ๋วพัฒนกุล
ศาสตราจารย์ ดร. ผดุง อารยะวิญญู
รศ.ดร. สมสรร วงษ์อยู่น้อย
ผศ. ดร.องอาจ นัยพัฒน์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับ เด็กออทิสติก ด้วยการดำเนินการวิจัยพัฒนาเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่1การสร้างแบบตรวจสอบทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก ขั้นที่2 การสร้างแบบประเมินทักษะทางสังคมสำหรับ เด็กออทิสติก และขั้นที่3 การเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กออทิสติกที่มีปัญหาทักษะทางสังคม ด้านการควบคุมคนเอง การสื่อความหมายกับบุคคลอื่น และการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ที่เรียนอยู่ช่วงชั้นที่1ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2549 โรงเรียนวัดโสมนัส สำนักงานเขตการศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ เลือกโดยวิธีเจาะจง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ชนิด คือ แบบตรวจสอบทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก แบบเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก และแบบประเมินทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก ใช้รูปแบบการวิจัยทางการศึกษาพิเศษการทดลองกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว(Single Subject Design) แบบหลายเส้นฐานระหว่างพฤติกรรม (Multiple Baseline Across Behaviors) แบบ AB-A ผลการที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้คือ
1. แบบฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ตรวจสอบทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก โดยใช้แบบตรวจสอบทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติกที่สร้างขึ้นขั้นที่ 2 เสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติกโดยใช้แบบเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก ที่สร้างขึ้นขั้นที่ 3 ประเมินทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก โดยใช้แบบประเมินทักษะทางสังคมสำหรับ เด็กออทิสติก ที่สร้างขึ้น
เครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นทั้ง 3 ชุดนี้ได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงพินิจจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว เห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี ซึ่งรายละเอียดของเครื่องมือมีดังนี้
1.1 แบบตรวจสอบทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติกมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ แบบ 2 ตัวเลือก ใช้ทดสอบเด็กออทิสติกเป็นรายบุคคล มีเนื้อหาครอบคลุมทักษะทางสังคม 3 ด้าน เป็นแบบตรวจสอบรายการทั้งสิ้น 31 ข้อคำถาม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ทักษะทางสังคมด้านที่ 1 การควบคุมคนเอง แยกเป็นทักษะย่อยที่ 1 การรอคอย มีแบบตรวจสอบรายการ 6 ข้อคำถาม ทักษะย่อยที่ 2 การทำตามกติกาที่กำหนด มีแบบตรวจสอบรายการ 7 ข้อคำถามทักษะทางสังคมด้านที่ 2 การสื่อความหมายกับบุคคลอื่นแยกเป็น ด้านย่อยที่ 1 การสบตา มีแบบตรวจสอบรายการ 5 ข้อคำถาม ด้านย่อยที่ 2 การเลียนแบบ มีแบบตรวจสอบรายการ 3 ข้อ คำถาม ด้านย่อยที่ 3 การแสดงความสนใจผู้อื่น มีแบบตรวจสอบรายการ 5 ข้อคำถาม และทักษะทางสังคมด้านที่ 3 การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น แยกเป็น ด้านย่อยที่ 1 การแบ่งปัน มีแบบตรวจสอบรายการ 6 ข้อ คำถาม ด้านย่อยที่ 2 การทำตามคำแนะนำ มีแบบตรวจสอบรายการ 4 ข้อคำถาม
1.2 แบบเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก มีลักษณะเป็นแผนการจัดกิจกรรมครอบคลุมทักษะทางสังคม 3 ด้าน รวม 64 กิจกรรม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ทักษะทางสังคมด้านที่ 1 การควบคุมตนเองแยกเป็น ทักษะย่อยที่ 1 การรอคอย มี 11 กิจกรรม ทักษะย่อยที่ 2 การปฏิบัติตามกติกาที่กำหนด มี 11 กิจกรรมทักษะทางสังคมด้านที่ 2 การสื่อความหมายกับบุคคลอื่น แยกเป็นทักษะย่อยที่ 1 การสบตา มี 4 กิจกรรมทักษะย่อยที่ 2 การเลียนแบบ มี 4 กิจกรรม ทักษะย่อยที่ 3 การแสดงความสนใจผู้อื่น มี 16 กิจกรรม ทักษะทางสังคมด้านที่ 3 การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น แยกเป็น ทักษะย่อยที่ 1 การแบ่งปันมี 9 กิจกรรม ทักษะย่อยที่ 2 การทำตามคำแนะนำ มี 9 กิจกรรม
1.3 ประเมินทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก มีลักษณะเป็นแบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมสำหรับเด็กออทิสติกแบบช่วงเวลาของการเกิดพฤติกรรม (Interval Recording) เป็นแผ่นตารางสังเกตและบันทึก
พฤติกรรม (Interval Scoring Sheet) โดยกำหนดการสังเกตและบันทึกพฤติกรรม ครั้งละ 10 นาทีแบ่งเป็น 10ช่วงเวลาๆ ละ 1 นาที ใช้กำหนดการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการเสริมสร้างทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก
2. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก จากการศึกษาพบว่าแบบฝึกนี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมากโดย
2.1 แบบตรวจสอบทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติกมี่ค่าความเที่ยงตรงเชิงพินิจเท่ากับ1.00
2.2 เด็กออทิสติกที่ได้รับการเสริมสร้างทักษะทางสังคม 3 ด้าน มีทักษะทางสังคมสูงขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จิ๋วพัฒนกุล พ., อารยะวิญญู ศ. ด. ผ., วงษ์อยู่น้อย ร. ส., & นัยพัฒน์ ผ. ด. (2009). การพัฒนาแบบฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/552
Section
บทความวิจัย (Research Articles)