การแสดงหลักฐานความเที่ยงตรงของโครงสร้างองค์ประกอบอันดับหนึ่งและอันดับสูงของแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ชฉบับภาษาไทย
Main Article Content
Abstract
แบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ชเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษาอย่างแพร่หลาย
เพราะเนื้อหาของแบบประเมินแสดงให้เห็นถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างครอบคลุม จากข้อค้นพบที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าสารสนเทศการประเมินที่ได้จากผู้เรียนสามารถช่วยให้คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการนำแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ชมาใช้ในแต่ละบริบทของสังคมควรต้องมีการแสดงหลักฐานก่อนว่าแบบประเมินนั้นมีความเที่ยงตรงหรือไม่เมื่อนำมาใช้ในบริบทที่เปลี่ยนไป การแสดงคุณลักษณะที่ดีของแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ชได้มีการศึกษามาเป็นอย่างดีในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามในวัฒนธรรมไทยยังไม่มีศึกษาเชิงประจักษ์ว่าแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ชสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีความเที่ยงตรงวัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการแสดงหลักฐานความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างองค์ประกอบของแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ช ทั้งองค์ประกอบอันดับหนึ่งจำนวน 9 องค์ประกอบ องค์ประกอบอันดับสองจำนวน 2 โมเดลคือ
โมเดล 2 องค์ประกอบ และโมเดล 4 องค์ประกอบ และองค์ประกอบอันดับสามโมเดล 1 องค์ประกอบผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาเป็นผู้เรียนระดับอุดมศึกษาจำนวน 6,432 คน จาก 2 มหาวิทยาลัย เป็นผู้เรียนในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒร้อยละ 59.81 และผู้เรียนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร้อยละ 40.19
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบอันดับหนึ่งโมเดล 9 องค์ประกอบ องค์ประกอบอันดับสองโมเดล 2 องค์ประกอบและโมเดล 4 องค์ประกอบ และองค์ประกอบอันดับสามโมเดลภาพรวมการประเมินการสอน มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี นอกจากนี้พบว่าสัมประสิทธิ์องค์ประกอบและค่า R2 ของแต่ละตัวบ่งชี้มีความเที่ยงตรงเชิงลู่เข้าในองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบ ยกเว้นตัวบ่งชี้จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่ศึกษานอกชั้นเรียนเท่านั้นที่มีความเที่ยงตรงเชิงลู่
เข้าในระดับต่ำ
เพราะเนื้อหาของแบบประเมินแสดงให้เห็นถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างครอบคลุม จากข้อค้นพบที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าสารสนเทศการประเมินที่ได้จากผู้เรียนสามารถช่วยให้คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการนำแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ชมาใช้ในแต่ละบริบทของสังคมควรต้องมีการแสดงหลักฐานก่อนว่าแบบประเมินนั้นมีความเที่ยงตรงหรือไม่เมื่อนำมาใช้ในบริบทที่เปลี่ยนไป การแสดงคุณลักษณะที่ดีของแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ชได้มีการศึกษามาเป็นอย่างดีในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามในวัฒนธรรมไทยยังไม่มีศึกษาเชิงประจักษ์ว่าแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ชสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีความเที่ยงตรงวัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการแสดงหลักฐานความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างองค์ประกอบของแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ช ทั้งองค์ประกอบอันดับหนึ่งจำนวน 9 องค์ประกอบ องค์ประกอบอันดับสองจำนวน 2 โมเดลคือ
โมเดล 2 องค์ประกอบ และโมเดล 4 องค์ประกอบ และองค์ประกอบอันดับสามโมเดล 1 องค์ประกอบผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาเป็นผู้เรียนระดับอุดมศึกษาจำนวน 6,432 คน จาก 2 มหาวิทยาลัย เป็นผู้เรียนในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒร้อยละ 59.81 และผู้เรียนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร้อยละ 40.19
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบอันดับหนึ่งโมเดล 9 องค์ประกอบ องค์ประกอบอันดับสองโมเดล 2 องค์ประกอบและโมเดล 4 องค์ประกอบ และองค์ประกอบอันดับสามโมเดลภาพรวมการประเมินการสอน มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี นอกจากนี้พบว่าสัมประสิทธิ์องค์ประกอบและค่า R2 ของแต่ละตัวบ่งชี้มีความเที่ยงตรงเชิงลู่เข้าในองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบ ยกเว้นตัวบ่งชี้จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่ศึกษานอกชั้นเรียนเท่านั้นที่มีความเที่ยงตรงเชิงลู่
เข้าในระดับต่ำ
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
เจริญวงศ์ระยับ อ., ศรีไพโรจน์ ร., & นัยพัฒน์ ผ. ด. (2009). การแสดงหลักฐานความเที่ยงตรงของโครงสร้างองค์ประกอบอันดับหนึ่งและอันดับสูงของแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ชฉบับภาษาไทย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/561
Section
บทความวิจัย (Research Articles)