การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครู โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เทศบาลแขวงอุดมไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว DEVELOPMENT OF BLENDED TRAINING PACKAGES BASED ON PRACTICE-BASED CONCEPTS TO PROMOTE TEACHERS’ ONLINE TEACHING MANAGEMENT ABILITY AT PROVINCIAL COMPLETE SECONDARY SCHOOL OF OUDOMXAY PROVINCE IN LAO PDR

Main Article Content

แสงเพชร คูณประเสริฐ
บุญรัตน์ แผลงศร
สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครู โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เทศบาลแขวงอุดมไซ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม ก่อนและหลัง ได้รับการอบรมด้วยชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน 3) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครู หลังได้รับการอบรมด้วยชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของครู หลังการใช้ชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เทศบาลแขวงอุดมไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 30 คน ตัวแปรที่ศึกษาคือ 1) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ชุดฝึกอบรมแบบผสมผสาน 2) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครู และความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ด้านความรู้ และความเข้าใจ ด้านสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการฝึกอบรม ด้านวิทยากร และด้านรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐานมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด  2) คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์หลังการอบรม สูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ หลังได้รับการอบรม สูงกว่าร้อยละ 70 และ 4) ความพึงพอใจของครู หลังการใช้ชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.76)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คูณประเสริฐ แ., แผลงศร บ., & ศิริพิพัฒนกุล ส. (2024). การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครู โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เทศบาลแขวงอุดมไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: DEVELOPMENT OF BLENDED TRAINING PACKAGES BASED ON PRACTICE-BASED CONCEPTS TO PROMOTE TEACHERS’ ONLINE TEACHING MANAGEMENT ABILITY AT PROVINCIAL COMPLETE SECONDARY SCHOOL OF OUDOMXAY PROVINCE IN LAO PDR. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 67–81. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16308
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป. ลาว. (2563). แผนการพัฒนาแขนงเการศึกษา และกีฬา 5 ปี ครั้งที่ IX ( 2021 – 2025 ) In ก. ส. ลาว (Ed.).

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว. (2558). วิสัยทัศน์ถึงปี 2030 ยุทธศาสตร์ถึงปี 2025 และแผนพัฒนาแขนงการศึกษาและกีฬา 5 ปี ครั้งที่ 8 . https://www.dvv-international.la/fileadmin/files/south-and-southeast-asia/documents/ESDP_2016-2020-LA.pdf.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย และคณะ. (2563). การเรียนรู้จากการปฏิบัติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 10(3), 155-163.

เจริญ ภูวิจิตร. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. [ออนไลน์]. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

บุญรัตน์ แผลงศร. (2565). เครื่องมือการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แบบสอบถามออนไลน์. วารสารการวัดผลการศึกษา, 39(105), 28-38.

ประทวน คล้ายศรี. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาร่วมกับแนวคิดอภิปัญญา สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

พัชรดา นาคา. (2562). การพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้แอพพลิเคชั่น สำหรับการเรียนการสอนของครูวิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ทิตติยา มั่นดี. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์. วารสารปัญญา. 28(2), 173-182.

ลินดา การภักดี, สิริวรรณ ศรีพหล และดุษฎี โยเหลา. (2562). การพัฒนาชุดฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมน่ารู้เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 13-27.

สุพจนินท์ ดวงจินดา เสถียรพันธ์ และพนิตนาฏ ชูฤกษ์. (2563). การใช้ระบบการจัดการเรียนการสอน LMS เป็นสื่อการเรียนรู้อิสระและระบบสนับสนุนสำหรับนักศึกษาเพื่อฝึกฝนการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ สถาบันภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(2): 165 – 177.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203-213.

สุดารัตน์ บุญญานุกูลกิจ. (2565). การพัฒนากิจกรรมฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการสอนเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรชัย โนคำ. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมผ่านหรือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่อง การใช้งาน ระบบสารบัญอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบุคลากรคณะรัฐศาสตร์. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ Veridian E-Journalฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 1382.

Watsatree Diteeyont, Boonrat Plangsorn, Suwito Eko Pramono, Barokah Isdaryanti, & Angga Pandu Wijaya. (2023). An analysis of causal factors of blended learning in Thailand. Education and Information Technologies. https://doi.org/10.1007/s10639-023-12424-x.

UNESCO. (2024). Technical Support for Developing ICT Modules for Teacher Educators in Lao PDR. https://www.unjobnet.org/jobs/detail/69640257

Most read articles by the same author(s)