การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยเน้นภาระงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเกาหลีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 THE DEVELOPMENT OF INTEGRATED ONLINE LESSONS FOCUSING ON TASKS TO IMPROVE LEARNING ACHIEVEMENT IN KOREAN SUBJECTS OF GRADE 10 STUDENTS

Main Article Content

ธงเมธัส รักสกุลใหม่
บุญรัตน์ แผลงศร
สัญชัย พัฒนสิทธิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยเน้นภาระงานของนักเรียนที่เรียนวิชาเกาหลีในชั้น ม.4 (2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยเน้นภาระงานของนักเรียนที่เรียนวิชาเกาหลี โดยกลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ แผนภาษาเกาหลี  2/2564 จำนวน 43 คน เป็นกลุ่มทดลอง และนักเรียนโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี แผนภาษาเกาหลี  2/2564 จำนวน 42 คน เป็นกลุ่มควบคุม โดย ตัวแปรที่ศึกษาคือ (1) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยเน้นภาระงาน (2) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนออนไลน์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเกาหลี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยเน้นภาระงานของนักเรียนที่เรียนวิชาเกาหลีผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานซึ่งจัดทำเป็นวิดีโอที่แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ไวยากรณ์ที่อยู่ในระบบออนไลน์ให้นักเรียนได้ศึกษาก่อน แล้วจึงสอนตามแผนซึ่งเป็นแผนการสอนแบบเน้นภาระงาน โดยผลการประเมินเครื่องมือที่ใช้ พบว่าคุณภาพของ บทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานอยู่ในระดับดี และแผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานอยู่ใน ระดับดีมาก และ 2) ในการศึกษาผลการพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยเน้นภาระงานของนักเรียนที่เรียนวิชาเกาหลี พบว่า คะแนนจากการทดสอบหลังเรียนของ กลุ่มทดลองซึ่งเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยเน้นภาระงาน สูงกว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนของ กลุ่มควบคุมซึ่งเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานสามารถพัฒนานักเรียนให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
รักสกุลใหม่ ธ. ., แผลงศร บ., & พัฒนสิทธิ์ ส. (2024). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยเน้นภาระงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเกาหลีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4: THE DEVELOPMENT OF INTEGRATED ONLINE LESSONS FOCUSING ON TASKS TO IMPROVE LEARNING ACHIEVEMENT IN KOREAN SUBJECTS OF GRADE 10 STUDENTS. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 69–83. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15557
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

นิชาภา บุรีกาญจน์ (2556) ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อรพินทร์ ชูชม. 2552. การวิจัยกึ่งทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 15(1): 1-15.

สุปรีชา แก้วสวัสดิ์ และคณะ. 2563. “การวิจัยกึ่งทดลอง: งานประจำสู่การวิจัยกึ่งทดลองสำหรับนักสาธารณสุข” วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา 35(2):30 – 39.

นิชาภา บุรีกาญจน์ (2556) การสร้างการเรียนรู้สู้ศตวรรณ์ที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกำมาจล

เกตุม สระบุรินทร์, ศราวุฒิ แย้มดี และ ณัฏฐวัฒน์ ไชยโพธิ์. (2560). ทัศนคติและพฤติกรรมของนักเรียนต่อการใช้บทเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Moodle กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2557). การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. เชียงใหม่: ส.การพิมพ์.

คิม ยูมี. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ภาษาเกาหลีสำหรับ K-MOOC ในรายวิชาภาษา เกาหลี ระดับกลาง “한국어를 부탁해”. โซล. เกาหลีใต้.

ชาลิสา จิตบุญญาพินิจ และ ประสงค์ ปราณีตพลกรัง. (2559). ผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในการพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณุรัตน์ แย้มฉาย. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เพื่อพัฒนาความสามารถการพูดนำเสนอภาษาอังกฤษ สาหรับ นักศึกษาปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทัศนีย์ บุญแรง. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. เชียงใหม่: ส.การพิมพ์.

ธนัชชา บินดุเหล็ม . (2562). ผลของการสอนแบบออนไลน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปที่ 1. สงขลา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นิกร กรรณิกากลาง. (2556). แบบฝึกหัดออนไลน์ สาหรับรายวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ประวิทย์ จันอับ. (2561). พฤติกรรการใช้สังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปานวาส ประสาทศิลป์. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคซี ไอ อาร์ ซี บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เอ็ดโมโด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ปารวี งามอนันต์. (2564). การพัฒนาความสามารถทางการอ่าน เพื่อความเข้าใจตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

แฝงกมล เพชรเกลี้ยง. (2563). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning. กรุงเทพมหานคร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ภัคภร อุบลน้อย และ พีรพัฒน์ ยางกลาง. (2564). การพัฒนาการ พูดภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้ที่ เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่นของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

ภัทรียา. (2557). การสร้างชุดกิจกรรม, สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2566, จาก https://da-activities.blogspot.com/p/blog-page_3666.html?m=1.

วรวุฒิ มั่นสุข; และปุณเชษฐ์ จินางศุกะ. (2558). ผลการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการใช้อีเลิร์นนิ่ง ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วัฒนา พลาชัย; และวินัย เพ็งภิญโญ . (2562). การพัฒนาบทเรียน ออนไลน์Mobile Learning โดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ในรายวิชา การเขียนเว็บไซต์สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีประจันต์ “เมธีประมุข”.วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10(1): 186-189.

วิทัศน์ ฝักเจริญผล และคณะ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันการแปล. (2562). อบรมครูผู้รสอนภาษาเกาหลีในรูปแบบภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร.

สุภิชา ฤทธิวงศ์และ อัญชลี ทองเอม. (2561). การพัฒนากิจกรรม แบบมุ่งปฏิบัติงาน (Task-based activities) เพื่อส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กระบี่.

อนุชา สะเล็ม. (2560). การประยุกต์ใช้ E-Learning ในกระบวนการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจมีนบุรีกรุงเทพ Apply of E-learning in the teaching process. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจมีนบุรีกรุงเทพ.

ฮัน ซังมี; และคณะ. (2555). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ภาษาเกาหลีสำหรับ การศึกษาภาษาเกาหลีของ สถาบันภาษา (KLI) ของมหาวิทยาลัยยอนเซ. โซล .เกาหลีใต้.

Korean Language Education Center. Sogang University. (1990). 서강 한국어.. โซล เกาหลีใต้. ซอกัง.

Test of Proficiency in Korean. (2563). 능력시험 안내. โซล. เกาหลีใต้.

Most read articles by the same author(s)