มุมมองทางเลือกของรูปแบบการประเมิน: โมเดล CSE ALTERNATIVE PERSPECTIVE ON EVALUATION MODEL: THE CSE MODEL

Main Article Content

ศิฏามาส น้อยสอน
สายฝน วิบูลรังสรรค์

Abstract

การประเมินเป็นกระบวนการที่สำคัญในการกำหนดทิศทางและพัฒนาคุณภาพของโครงการเพื่อการตัดสินใจและมีข้อมูลสนับสนุนเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย รูปแบบการประเมินโมเดล CSE (Center for the Study of Evaluation Approach) พัฒนาโดย Marvin C. Alkin แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) มุ่งเน้นการประเมินเพื่อการตัดสินใจ (Decision-Oriented Theory) อย่างเป็นระบบที่มีการวิเคราะห์ในหลายมิติ ผ่านการนำเสนอสารสนเทศที่ชัดเจนและเหมาะสม โดยมีกระบวนการประเมินแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินระบบ (System Assessment) การประเมินการวางแผนโครงการ (Program Planning)  การประเมินการดำเนินงานโครงการ (Program Implementation) การประเมินเพื่อการปรับปรุงโครงการ (Program Improvement)  และ การประเมินเพื่อการรับรองโครงการ (Program Certification)  โดยบทความนี้นำเสนอประเด็นสำคัญของรูปแบบการประเมินโมเดล CSE ที่ไม่เพียงแต่มีความชัดเจนในกระบวนการประเมินเท่านั้น แต่ยังมีความโดดเด่นในการระบุศักยภาพของผู้ใช้  ผลการประเมิน ซึ่งเป็นการพัฒนาจากแนวคิด "Bottom-Up" ที่ให้ความสำคัญกับอำนาจผู้ใช้ สำหรับการตีความและตัดสินใจที่มากกว่าแค่การวัดผลลัพธ์ภายใต้กรอบการประเมินนำไปสู่ความสามารถในการตัดสินใจที่มีคุณภาพ ซึ่งมีความแตกต่างจากโมเดล CIPP ที่รู้จักและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้กระบวนการประเมินและกรอบแนวทางการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 1) กำหนดกรอบคำถามและบริบทการนำไปใช้ (Framing the Question and use context) 2) การเจรจาตกลงร่วมกัน (Negotiating agreement on acceptability)  3) การกำหนดกรอบในการตัดสินผลลัพธ์ (Establishing a framework for judging results) 4) การรวบรวมและการรายงานข้อมูล (Data Collection and reporting) และ 5) การตีความและการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ (Interpretation and facilitation of use) ซึ่งกรอบการประเมินจะช่วยให้ผู้ใช้ลดความเสี่ยงจากอคติที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่มีคุณภาพและยั่งยืนในระยะยาวรวมถึงแนวทางการประยุกต์ใช้การประเมินที่สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานประเมินได้จริง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
น้อยสอน ศ. ., & วิบูลรังสรรค์ ส. . (2024). มุมมองทางเลือกของรูปแบบการประเมิน: โมเดล CSE: ALTERNATIVE PERSPECTIVE ON EVALUATION MODEL: THE CSE MODEL. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 258–271. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16073
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)

References

พลภัทร์ ศรีวาลัย ทวิกา ตั้งประภา และสุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2561). การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษ (English Program) ของโรงเรียนสิริรัตนาธรโดย ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CSE ของอัลคิน. วารสารนาคบุตรปริทัศน์. 10(1), 1-51.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). ทฤษฎีการประเมินและอภิมานทฤษฎีการประเมิน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมินCIPPและ CIPESTมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(2), 7-24.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2564). ทฤษฎีการประเมิน.(พิมพ์ครั้งที่ 10 ). กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เศรษฐวิชญ์ ชโนวรรณ. (2564). การประเมินโครงการทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์ทดสอบและประเมินเพื่อพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพ. (2564). แนวทางการพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งประเทศไทย.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.หน้า 172-176.

Alkin,M.C. and Woolley, D.C. (1969).A model for educational Evaluation. Paper Presented for PLEDGE Conference ; SanDimas.

Alkin,M.C. (2013). Evaluation Roots.(2 nd ed.).USA: SAGE publicationtion,Inc.

Sugiharni ,G.A.D, Setiasih,N.W., Mahaendra, I.Y.E.(2018). Development Of Alkin Model Instruments as Evaluation Tools of Blended Learning Implementation In Discrete Mathematics Course On Stikom Bali. Journal of Theoretical and Applied Information Technology. 96(17),5803-5818.

Stufflebeam, D. L., & Zhang, G. (2017). The CIPP Evaluation Model: How to Evaluate for Improvement and Accountability. Guilford Publications.