การพัฒนาชุดนิทานส่งเสริมพฤติกรรมการเห็นอกเห็นใจสำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

สริดา ศุภสุทธิเวช
พัชรินทร์ เสรี

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีแบบแผนการวิจัยแบบทดสอบก่อนหลังชนิดมีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดนิทานในการพัฒนาพฤติกรรมการเห็นอกเห็นใจ 2)เปรียบเทียบพฤติกรรมการเห็นอกเห็นใจก่อนและหลังการเล่านิทาน และ 3)เปรียบเทียบพฤติกรรมการเห็นอกเห็นใจกลุ่มที่ได้รับการเล่านิทานกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการเล่านิทาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็น นักเรียนอนุบาลปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 44 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 21 คน และกลุ่มควบคุม 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นิทานและแผนการเล่านิทาน 2) แบบประเมินพฤติกรรมการเห็นอกเห็นใจสำหรับเด็กปฐมวัยจากสถานการณ์จำลอง และ3) แบบบันทึกพฤติกรรมเด็กระหว่างการเล่านิทาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test และ The Mann-Whitney U Test ชุดนิทานและแผนการเล่านิทานมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) เท่ากับ 1 ผลการศึกษาพบว่า คะแนนพฤติกรรมการเห็นอกเห็นใจของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการเล่านิทานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนมัธยฐานของพฤติกรรมการเห็นอกเห็นใจในกลุ่มทดลองสูงขึ้น คะแนนพฤติกรรมการเห็นอกเห็นใจหลังการเล่านิทานของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐานในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมคำสำคัญ: นิทาน, พฤติกรรมการเห็นอกเห็นใจ, เด็กปฐมวัย ABSTRACT The research was designed as Quasi experimental research non-equivalent pretest-posttest control group design. The objectives of research were; 1) to develop storytelling set for the enhancing empathy behavior; 2) to compare the empathy behavior in preschoolers between before and after storytelling; and 3) to compare the empathy behavior in preschoolers between the storytelling group and the group that does not receive storytelling. Random sampling of 2 groups was done, 23 preschoolers for the experimental group, 21 preschoolers for the control group. Instruments used were the storytelling plan, the empathy behavior assessment form, and the behavior record form. Non parametric was used to analyze the data between experimental group and control group. The result of the analysis showed that Content Validity Index scores of a storytelling set and a storytelling plan are 1. The experimental group had significantly higher scores in empathy behavior (p < .05). The empathy behavior between pre- and post-test evaluation did differ significantly. Before and after storytelling, the experimental group and control group did not differ significantly in their mean score, however the median score in experimental group was higher than in control group. It is recommended that additional studies should be conducted to determine what factors affect the empathy behavior in preschoolers. Keywords: Storytelling, Empathy Behavior, Preschooler

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ศุภสุทธิเวช ส., & เสรี พ. (2020). การพัฒนาชุดนิทานส่งเสริมพฤติกรรมการเห็นอกเห็นใจสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 21(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/12532
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)