ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตที่มีต่อทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ในสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิต 2) เปรียบเทียบทักษะชีวิตของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรม และ 3) เปรียบเทียบทักษะชีวิตของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมและไม่ได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ คัดเลือกโดยวิธี การสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 28 คน วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีรูปแบบการวิจัยแบบ Non-Equivalent Pretest-Posttest Control Group Design กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง วิเคราะห์ประสิทธิผลของโปรแกรมโดยการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ Wilcoxon Matched Pairs signed ranks Test และ Mann-Whitney U Test ผลการศึกษา พบว่า โปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตมีค่าดัชนีประสิทธิผล คือ 0.236 ภายหลังเข้าโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิต นักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะชีวิตโดยรวม ด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านการจัดการอารมณ์และความเครียด และด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นสูงขึ้นกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่านักเรียนที่เข้าโปรแกรมมีทักษะชีวิตสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ, ทักษะชีวิต, นักเรียนชั้นประถมศึกษา ABSTRACT This study aimed to 1) examine the effectiveness of intervention program for enhancing life skills, 2) compare life skills of students in the experimental group before and after the intervention, and 3) compare life skills of students between the experimental group and the control group. The research design was a quasi-experimentalresearch with a non-equivalent pretest-posttest control group design. The samples were 5th grade students with low academic achievement which were separated into an experimental and control group. The experimental group received 1 hour of the intervention program for enhancing life skills for 12 times. As for data analysis, the researcher used Effectiveness Index (E.I.), Wilcoxon Matched Pairs signed ranks Test and Mann-Whitney U Test. The results showed that the intervention program for enhancing life skill had Effectiveness Index of 0.236 after students received the intervention. Furthermore, students in the experimental group had a high cumulative score in the skill of awareness, self-esteem and appreciation for others. Moreover, the scores in the skill of critical thinking, decision making and problem solving, the skill of emotional and stress management, and the skill of personal interaction were significantly higher at p = 0.05. Additionally, it was found that students in the experimental and control group had a significantly different score at p = 0.05. Keywords : students with low academic achievement, life skills, elementary students
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
หมัดเหล็ม ศ., เสรี พ., อภินันทเวช ส., & ยงย่วน บ. (2018). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตที่มีต่อทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/10392
Section
บทความวิจัย (Research Articles)