DETERMINANTS AND CONSEQUENCES OF CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY ON FIRM PERFORMANCE: EVIDENCE IN THAILAND (ปัจจัยและผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในประเทศไทย)

Authors

  • Chutimant Boonnual Faculty of Business Administration, Rajamanggala University of Technology Thanyaburi, Corresponding Author
  • Panarat Panmanee School of Business, University of the Thai Chamber of Commerce, Thailand
  • Wanchai Prasertsri Faculty of Business Administration, Rajamanggala University of Technology Thanyaburi

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมและผลการปฏิบัติงานของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย ในขณะเดียวกันบทความนี้ศึกษาผลกระทบจากการเป็นปัจจัยส่งผ่านการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของ บริษัทจากการกำกับดูแลกิจการไปสู่ผลการดำเนินงานที่มั่นคง การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยและผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการวิเคราะห์ปัจจัยของการกำกับดูแลกิจการและผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ดังกล่าวได้มีการจัดทำดัชนีรายการการตรวจสอบ เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามความรับผิดชอบต่อสังคม ในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการพัฒนารายการตรวจสอบความรับผิดชอบต่อสังคมโดยวิเคราะห์จากรายงานประจำปี 2557 จำนวน 382 บริษัท ในการจัดทำดัชนีเพื่อตรวจสอบรายการความรับผิดชอบต่อสังคมได้จำแนกออกเป็น 6 กลุ่มของผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วยพนักงาน ลูกค้า นักลงทุน ชุมชน สิ่งแวดล้อมและผู้จัดจำหน่าย การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม จะได้รับการวิเคราะห์และตรวจสอบโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ได้ดำเนินการโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง ผลลัพธ์ทางสถิติจากการวิเคราะห์ปัจจัยพบว่า ทั้ง 6 มิติเป็นมาตรวัดการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า ผู้ถือหุ้นองค์กร การที่รัฐบาลเข้ามาถือหุ้น และจำนวนของกรรมการอิสระมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมและผลการดำเนินงานของบริษัท และทั้งอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ส่วนความเป็นอิสระของคณะกรรมการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ในขณะที่บริษัทที่มีรัฐบาลเข้ามาถือหุ้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) เท่านั้น ผลการวิจัยยังพบการเปิดเผยข้อมูลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นปัจจัยส่งผ่านอย่างสมบูรณ์ระหว่างผู้ถือหุ้นองค์กรและผลการดำเนินงานของกิจการ และเป็นปัจจัยส่งผ่านบางส่วนจากจำนวนกรรมการอิสระกับผลการดำเนินงานของบริษัท สำหรับกรณีที่มีรัฐบาลเข้ามาถือหุ้นในบริษัทการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นปัจจัยส่งผ่านแบบสมบูรณ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) แต่เป็นปัจจัยส่งผ่านเพียงบางส่วนในอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) คำสำคัญ: ความรับผิดชอบต่อสังคม การกำกับดูแลกิจการ ผลการดำเนินงาน Abstract The purpose of this study was to investigate relationships between corporate governance, corporate social responsibility disclosure, and firm performance in publicly listed firms in Thailand using a stakeholder theory perspective. Meanwhile, this paper investigates mediation effects of corporate social responsibility disclosure from corporate governance to firm performance. This study’s main purpose is to investigate determinants and consequences of CSR disclosure by analyzing corporate governance and firm performance in 2014. To investigate such a relationship, a CSR checklist was developed to identify CSR practices in Thai-listed companies. In developing a CSR checklist, the published annual reports were analyzed for the sequence of CSR practices. A clasification process was utilized to develop an index based on six dimensions, including employee, customer, investor, community, environment and supplier. CSR disclosure is then analyzed and examined using content analysis. Data was collected from the publicly available annual reports of public firms in Thailand (n = 382). Analysis was conducted using structural equation modeling. The statistical results from factor analysis found that all six dimensions are appropriate measurements of CSR disclosure. The empirical result is that positive relationships were found for institutional ownership, government ownership and board independence and CSR disclosure; CSR disclosure and firm performance; and both ROA and ROE. However, board independence has a negative relationship with ROA and ROE, while government ownership has a positive relationship with only ROE. Thus, CSR disclosure, institutional ownership, government ownership and board independence were the main factors identified in the firm’s performance. The model also identified several mediating relationships of CSR disclosure between corporate governance variables and measures of firm financial performance. In conclusion, CSR disclosure has complete mediation from institutional ownership to firm performance; there is partial mediation from board independence to firm performance. For government ownership, CSR disclosure has a complete mediation to ROA, but partial mediation to ROE. Keywords: Corporate social responsibility, Corporate governance, firm performance

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

12-11-2017

How to Cite

Boonnual, C., Panmanee, P., & Prasertsri, W. (2017). DETERMINANTS AND CONSEQUENCES OF CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY ON FIRM PERFORMANCE: EVIDENCE IN THAILAND (ปัจจัยและผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในประเทศไทย). วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ: Srinakharinwirot Business Journal, 8(2), 1–16. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/9404