มูลเหตุและผลกระทบเชิงพฤติกรรมที่เกิดจากการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง
Keywords:
มูลเหตุการซื้อ ผลกระทบจากการซื้อ พฤติกรรมการซื้อ สลากกินแบ่งรัฐบาลAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษามูลเหตุและผลกระทบเชิงพฤติกรรมที่เกิดจากการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จำนวน 42 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการ และเป็นผู้ที่ซื้อหรือเคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระยอง จำนวน 442 คน จากการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-34 ปี มีสถานภาพสมรสโสด สำเร็จการศึกษาอนุปริญญาหรือปวส. มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 12,001-14,000 บาท มีแรงจูงใจในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสลากกินแบ่งรัฐบาลในด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ อยู่ในระดับน้อย และด้านความคิดเห็น อยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติโดยรวมต่อสลากกินแบ่งรัฐบาล อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล พบว่า นิยมซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวน 1-3 ฉบับ มีความถี่ในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล 1-6 ครั้งต่อปี ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งประมาณ 100-500 บาท ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลจากร้านค้าแผงลอยทั่วไป ซื้อในช่วงเวลาเช้าของวันที่ออกรางวัล สาเหตุหลักๆ คือ ต้องการถูกรางวัล และเป็นผู้ตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยตนเอง ในขณะที่ให้ความเห็นว่าผลกระทบจากการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1. ปัจจัยแรงจูงใจ ด้านเหตุผลโดยรวม มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำและไปในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง ด้านความถี่ในการซื้อ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2. ปัจจัยแรงจูงใจ ด้านอารมณ์โดยรวม มีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำและไปในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง ด้านความถี่ในการซื้อ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 3. ปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิต ด้านความสนใจโดยรวม มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำและไปในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง ด้านจำนวนเงินในการซื้อ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 4. ปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิต ด้านความคิดเห็นโดยรวม มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำและไปในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง ด้านปริมาณการซื้อ และความถี่ในการซื้อ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 5. ปัจจัยทัศนคติต่อสลากกินแบ่งรัฐบาล ด้านความรู้สึกชอบโดยรวม และด้านความตั้งใจในการซื้อโดยรวมมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำและไปในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง ด้านความถี่ในการซื้อ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 6. พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง ด้านความถี่ในการซื้อ มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำและไปในทิศทางตรงกันข้ามกับผลกระทบด้านการใช้จ่ายของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยแรงจูงใจ ปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิต และปัจจัยทัศนคติต่อสลากกินแบ่งรัฐบาล มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง ซึ่งสอดคล้องกับผลวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ในขณะที่ในด้านผลกระทบ พบว่า พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง ซึ่งสอดคล้องกับผลวิธีวิจัยเชิงปริมาณDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ