แบบจำลองสมการโครงสร้างของความไม่ยากจน ประชาชนจังหวัดภูเก็ต
Keywords:
ความยากจน ประชาชนจังหวัดภูเก็ตAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความกลมกลืนของแบบจำลองสมการโครงสร้างของความไม่ยากจนของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต กับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 508 คน ด้วยแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ พบว่า แบบจำลองมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ((2=356.81, df= 173, p-value = <.01; Relativeχ2 = 2.00; GFI = .94 ; AGFI =.92; RMR = .032; SRMR= .050; RMSEA = .046; P-Value for Test of Close Fit = .85; NFI = .97; IFI= .98; CFI = .98; CN = 305.33) ปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อความไม่ยากจน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการพัฒนากับภาครัฐและโอกาสทางการศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลทางอ้อม ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการพัฒนากับภาครัฐการดำเนินงานนโยบายท้องถิ่น ซึ่งส่งผลผ่านโอกาสทางการศึกษาDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ