ความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมาภิบาลกับผลประกอบการ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Keywords:
ธรรมาภิบาล ผลประกอบการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยAbstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับผลประกอบการของบริษัท เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและพัฒนาแนวคิดธรรมาภิบาลให้แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ภายใต้พื้นฐานของการมีหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีระดับดีเลิศจาก Corporate Governance Report of Thai Listed Companies ปี 2012 จำนวน 59 องค์กร ใช้วิธีเลือก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 51 องค์กร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการทดสอบ พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลและผลประกอบการขององค์กร โดยการสอบถามความคิดเห็นของพนักงานที่ทำงานในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีต่อหลัก ธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วย 6 หลัก ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า แล้วนำมาหาความสัมพันธ์กับผลประกอบการของบริษัท ซึ่งได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin) พบว่า หลักธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin)) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบแต่ละหลัก พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin)) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นหลักคุณธรรมไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA) และอัตรากำไรสุทธิ (Net profit) และหลักการมีส่วนร่วมไม่มีความสัมพันธ์กับผลประกอบการของบริษัทDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ