ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน วัฒนธรรมองค์กรที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครปฐม

Authors

  • ปรีกมน จินตนานนท์ สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน วัฒนธรรมองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร

Abstract

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันภายในองค์กรของข้าราชการสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครปฐม จำนวน 240 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า      ข้าราชการฯ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 40 - 49 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งตามสายงานวิชาการสรรพากร มีอัตราเงินเดือน 9,640 – 19,639 บาท และมีอายุงานในองค์กร 11 - 20 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความสำเร็จในงาน ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบ การได้รับความยอมรับนับถือ และความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ตามลำดับ ปัจจัยค้ำจุนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสภาพการทำงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านสถานะทางอาชีพ ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว ด้านความมั่นคงในงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน และด้านโอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต ตามลำดับ ส่วนด้านเงินเดือนอยู่ในระดับปานกลาง วัฒนธรรมองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับดี ได้แก่ วัฒนธรรมแบบตั้งรับ-ปกป้อง วัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์ และวัฒนธรรมแบบรุก-ปกป้อง ตามลำดับ ความผูกพันภายในองค์กรโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความผูกพันทางด้านจิตใจ ความผูกพันทางด้านบรรทัดฐาน และความผูกพันทางด้านการคงอยู่ ตามลำดับ       ข้าราชการที่มีเพศ ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน และอายุงานในองค์กรแตกต่างกัน  มีความผูกพันต่อองค์กรทางด้านการคงอยู่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05       ข้าราชการที่มีอายุแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรทางด้านการคงอยู่และด้าน ความผูกพันต่อองค์กรทางด้านบรรทัดฐานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05       ข้าราชการที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรทางด้านจิตใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05       ปัจจัยจูงใจโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ความสำเร็จในงาน การได้รับความยอมรับนับถือ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรในเรื่องความผูกพันทางด้านจิตใจ ความผูกพันทางด้านการคงอยู่ และความผูกพันทางด้านบรรทัดฐาน โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01       ปัจจัยค้ำจุนโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ เงินเดือน โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน สถานะทางอาชีพ นโยบายและการบริหารงาน สภาพการทำงาน ความเป็นอยู่ส่วนตัว และความมั่นคงในงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรในเรื่องความผูกพันทางด้านจิตใจ ความผูกพันทางด้านการคงอยู่ และความผูกพันทางด้านบรรทัดฐาน โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01       วัฒนธรรมองค์กรโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ วัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์วัฒนธรรมแบบตั้งรับ-ปกป้อง และวัฒนธรรมแบบรุก-ปกป้อง มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรในเรื่องความผูกพันทางด้านจิตใจ ความผูกพันทางด้านการคงอยู่ และความผูกพันทางด้านบรรทัดฐาน โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

26-09-2014

How to Cite

จินตนานนท์ ป. (2014). ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน วัฒนธรรมองค์กรที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครปฐม. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ: Srinakharinwirot Business Journal, 5(1), 116–138. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/4644