กลยุทธ์ทางการตลาด และความพึงพอใจ ที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซานในภาคการเกษตร
Keywords:
ไคโตซาน ภาคเกษตร พฤติกรรมการซื้อไคโตซานในภาคเกษตรAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาด และความพึงพอใจที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซานในภาคการเกษตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรที่มีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซานในภาคเกษตร จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 40 – 51 ปี สถานภาพ สมรส ระดับการศึกษาสูงสุดอยู่มัธยมศึกษาตอนต้น มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 6,000 – 10,999 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ เกษตรกรมีการใช้ผลิตภัณฑ์ไคโตซานมาแล้ว 1 ปี มีการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซานประมาณ 2 ครั้งต่อปี และมีมูลค่าในการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซานเฉลี่ยครั้งละ 1,000 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่มีการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซานจากจุดบริการ เป็นการใช้ไคโตซานพืช โดยส่วนใหญ่จะตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง เกษตรกรมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไคโตซานโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก มีระดับความคิดเห็นด้านราคาของผลิตภัณฑ์ไคโตซานอยู่ในระดับดี มีระดับความคิดเห็นด้านช่องทางการจัดจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ไคโตซานอยู่ในระดับดี มีระดับความคิดเห็นด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับดี และมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ดีมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เกษตรกรที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซานในภาคการเกษตรแตกต่างกัน ในด้านระยะเวลาในการใช้ผลิตภัณฑ์ไคโตซาน และด้านมูลค่าการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เกษตรกรที่มีภูมิลำเนาแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซานในภาคการเกษตรแตกต่างกัน ในด้านมูลค่าการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กลยุทธ์ทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ไคโตซาน และด้านราคาของผลิตภัณฑ์ไคโตซาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ในภาคการเกษตร ด้านความถี่ต่อปีในการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำและมีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ความพึงพอใจโดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซานในภาคการเกษตร ด้านมูลค่าการซื้อผลิตภัณฑ์ไคโตซาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ