อิทธิพลของกลไกการกำกับดูแลกิจการต่อประสิทธิผลของการกำกับดูแลกิจการและมูลค่าของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Keywords:
กลไกการกำกับดูแลกิจการ ประสิทธิผลของการกำกับดูแลกิจการ มูลค่าของบริษัทAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของกลไกการกำกับดูแลกิจการต่อประสิทธิผลของการกำกับดูแลกิจการ และมูลค่าของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วยตัวแปรอิสระคือ กลไกการกำกับดูแลกิจการ ได้แก่ ขนาดของคณะกรรมการ องค์ประกอบของกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร ทักษะความรู้ของกรรมการ การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ค่าตอบแทนกรรมการและฝ่ายบริหาร ความเป็นเจ้าของของกรรมการและฝ่ายบริหารและโครงสร้างของเงินทุน ตัวแปรคั่นกลางคือ ประสิทธิผลของการกำกับดูแลกิจการ และตัวแปรตามคือ มูลค่าของบริษัท ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพไปพร้อมกัน โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับ การกำกับดูแลกิจการ รวมถึงการสัมภาษณ์ทิศทางอิทธิพลของกลไกการกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการกำกับดูแลกิจการ และมูลค่าของบริษัทเพื่อประกอบการอภิปรายผลการวิจัย สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบตรวจสอบรายการเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่รวมถึง รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจการเงิน จำนวน 210 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าร้อยละ และใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบ Multiple Indicators and Multiple Causes (MIMIC) Model ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยแสดงว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของกลไกการกำกับดูแลกิจการต่อประสิทธิผลของการกำกับดูแลกิจการ และมูลค่าของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 21.811 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 33 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.932 ไค-สแควร์สัมพัทธ์ (c2/df) เท่ากับ 0.661 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.984 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.956 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.000 และค่าดัชนีค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.000 นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า (1) ทักษะความรู้ของกรรมการมีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลของการกำกับดูแลกิจการ (2) ค่าตอบแทนของกรรมการและฝ่ายบริหารมีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลของการกำกับดูแลกิจการ (3) ค่าตอบแทนของกรรมการและฝ่ายบริหารมีอิทธิพลทางบวกต่อมูลค่าของบริษัท และ (4) ประสิทธิผลของการกำกับดูแลกิจการมีอิทธิพลทางบวกต่อมูลค่าของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ