การวิจัยและพัฒนา 10 กิจกรรมสุขภาวะองค์การ ของบริษัทญี่ปุ่นที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย
Keywords:
กิจกรรมสุขภาวะ สุขภาวะองค์การ บริษัทญี่ปุ่น ประเทศไทยAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อสำรวจความต้องการองค์การสุขภาวะทั้ง 10 ด้าน ของพนักงานชาวไทยที่ทำงานในบริษัทญี่ปุ่นที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย และเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมที่ก่อให้เกิดองค์การสุขภาวะทั้ง 10 ด้าน ซึ่งการวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) โดย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ พนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก จำนวน 26 คน โดยสอบถามกิจกรรมทั้ง 10 ด้านที่พนักงานต้องการ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนดังกล่าวมาทำการสอบถามผู้บริหารจำนวน 109 คน ถึงความเป็นไปได้ในการสนับสนุนกิจกรรมทั้ง 10 ด้าน และขั้นตอนสุดท้ายผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาปรับปรุงกิจกรรมตามที่ได้รับการสนับสนุนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในองค์การต่อไป ผลการวิจัยในด้านของความต้องการองค์การสุขภาวะทั้ง 10 ด้าน พบว่า พนักงานต้องการให้ส่งเสริมทั้งหมด 9 ด้าน คือ 1) ด้านเศรษฐกิจการเงินดี 2) ด้านสุขภาพดี 3) ด้านครอบครัวดีมีสุข 4) ด้านสังคมมีสุข 5) ด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 6) ด้านการพัฒนาความรู้ 7) ด้านคุณธรรมประจำใจ 8) ด้านอาหารการกินดี 9) ด้านความสะดวกของการเดินทางมาทำงาน ยกเว้นด้านการผ่อนคลายดี ส่วนในการสร้างสร้างสรรค์กิจกรรมที่ก่อให้เกิดองค์การสุขภาวะทั้ง 10 ด้านมาจากแบบสอบถามที่ได้จากผู้บริหารของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก 109 คน สรุปได้ว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเริ่มทำกิจกรรมส่งเสริมองค์การสุขภาวะในบริษัททั้ง 10 ด้าน ได้แก่ ในไตรมาสที่ 1 ช่วงเดือนมกราคม ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ บริษัทควรมีตารางกำหนดช่วงระยะเวลาการทำที่ชัดเจน ทั้งยังควรมีขั้นตอนการวางแผน การตรวจสอบผลที่ได้รับว่าเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ โดยใช้ PDCA มาเป็นตัวช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น และในงานวิจัยครั้งต่อไป ควรมีหลักการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) มีแผนการประกอบงานที่ชัดเจน มีกระบวนการและขั้นตอนการทำงานที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการลองทำกิจกรรมดังกล่าว แก้ไข ปรับปรุง จนเกิดความสมบูรณ์ มีการสรุปวิธีการปฏิบัติและขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน ตลอดจนมีการรักษาความเป็นมาตรฐาน (Keep Standard) เพื่อที่จะสามารถเผยแพร่ให้หน่วยงานภายในและภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไปDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ