คุณภาพของรายการคงค้างของบริษัทอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Keywords:
คุณภาพกำไร คุณภาพของรายการคงค้าง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพของรายการคงค้างในช่วงก่อนและหลัง การบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุง 2552 (ถือปฏิบัติตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554) ของบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การวิเคราะห์เปรียบเทียบดังกล่าวทำโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพของรายการคงค้างในปี พ.ศ. 2552 กับปี พ.ศ. 2557 โดยใช้แบบจำลองที่พัฒนาโดย McNichols (2002) ซึ่งถูกนำมาใช้ในการศึกษาของ Francis, et al. (2005) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือข้อมูลจาก งบการเงินของกิจการในช่วงปี พ.ศ. 2547-2558 รวมทั้งสิ้น 614 บริษัท โดยรวมรวมจากฐานข้อมูล Bloomberg ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลาทั้งก่อนและหลังการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุง 2552 บริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างส่วนใหญ่มีคุณภาพของรายการคงค้างในระดับสูง และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของรายการคงค้างของบริษัทในช่วงเวลาก่อนและหลังการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุง 2552 พบว่า คุณภาพของรายการคงค้างของบริษัทในช่วงหลังการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวสูงกว่าในช่วงก่อนการบังคับใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นอกจากนั้นยังพบว่า คุณภาพของรายการคงค้างของบริษัทขนาดใหญ่สูงกว่าของบริษัทขนาดเล็กในทั้งสองช่วงเวลาดังกล่าวDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ