การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์

Main Article Content

สุภาพร พรไตร

Abstract

Developing Academic Achievement in Life and Environment Topic Using Science Inquiry Learning Emphasizing Analytical Thinking
 
Supaporn Porntrai
 
รับบทความ: 28 เมษายน 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 11 พฤษภาคม 2557
 
 
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75/75 และสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนให้สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับมาตรฐาน ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วยการทดสอบก่อนเรียน การจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ รวมระยะ เวลา 18 ชั่วโมง และการทดสอบหลังเรียน ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่เน้นการคิดวิเคราะห์ในทุกขั้นของการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้ มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจค้นหา ขั้นสร้างคำอธิบาย ขั้นอภิปรายความรู้ และขั้นประเมินผล รูปแบบการเรียนรู้นี้มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 78.73/82.44 ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (37.10±1.79) สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (19.47±2.91) (p < .05) และมีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับกลางหรือระดับสูง (<g> = 0.69)
คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์ การคิดวิเคราะห์
 
 
Abstract
This research aimed to develop a learning model emphasizing analytical thinking that has an effective criterion higher than 75/75, is able to improve students’ post–academic achievement higher than those of pre– academic achievement and allows students to gain learning progression at standard level. Research methodology comprised of pretest, learning through lesson plans emphasizing analytical thinking for 18 hours, followed by posttest. The findings revealed that all steps of science inquiry learning model emphasizing analytical thinking was be able to improve students’ academic achievement. This learning model composed of 5 steps as engagement, exploration, explanation, discussion and evaluation. The learning model had effective criterion (E1/E2) at 78.73/82.44 and allowed students to make their post–achievement scores (37.10±1.79) higher than those of pre–achievement scores (19.47±2.91) (p < .05). The students also had learning progression at medium or high gains (<g> = 0.69).
Keywords: Academic achievement, Life and environment, Science inquiry learning management, Analytical thinking

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรรณิการ์ กวางคีรี. (2555). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และความเข้าใจที่คงทนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. Veridian E-Journal, SU. 5(1): 255-270.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). รายงานการสังเคราะห์แนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน 36(2): 188-204.

ธวัช ยะสุคำ. (2553). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดเชิงวิพากย์เรื่อง อัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมี โดยใช้กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พิกุล แผนสุพัด และสุภาพร พรไตร. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสารในชีวิตประจำวัน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2(2): 78-87.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2543). ข้ออ่อนด้อยของงานวิชาการในระบบอุดมศึกษาไทย. อนุสารอุดมศึกษา 26(261): 14-17.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2550). สรุปผลการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รอบแรก พ.ศ. 2544-2548). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารวิจัย มข. 16(1): 72-82.

สิริกาญจน์ ธนวุฒิพรพินิต. (2553). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2555). โครงงานฐานวิจัย: กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุภาพร พรไตร. (2555). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Açişli, S., YalÇin, S.A. and Turgut, Ü. (2011). Effects of the 5E learning model on students’ academic achievements in movement and force issues. Procedia 15: 2459-2462.

McDonald, G. (2012). Teaching critical and analytical thinking in high school biology. The American Biology Teacher 74(3): 178-181.

National Research Council (NRC). (2000). Inquiry and the National Science Education Standards: A Guide for Teaching and Learning. Washington, DC: National Academy Press.

Nuangchalerm, P. and Thammasena, B. (2009). Cognitive development, analytical thinking and learning satisfaction of second grade students learned through inquiry-based learning. Asian Social Science 5(1): 82-87.

Proulx, G. (2004). Integrating scientific method and critical thinking in classroom debates on environmental issues. The American Biology Teacher 66(1): 26-33.

Zhang, L. and Sternberg, J. R. (1998). Thinking styles, abilities, and academic achievement among Hong Kong University students. Educational Research Journal 13(1): 41-62.

Most read articles by the same author(s)