การยกระดับความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์
Main Article Content
Abstract
Suchada Phochaiyarach and Supaporn Porntrai
รับบทความ: 26 เมษายน 2558; ยอมรับตีพิมพ์: 10 มิถุนายน 2558
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ รวมถึงศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน ความคงทนของความรู้ และประสิทธิภาพของกระ-บวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย การทดสอบก่อนเรียน การจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้รวมระยะเวลา 12 ชั่วโมง โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจค้นหา ขั้นสร้างคำอธิบาย ขั้นอภิปรายความรู้ และขั้นประเมินผล และการทด-สอบหลังเรียน 2 ครั้ง ได้แก่ หลังเรียนเสร็จ และ หลังจากการจัดการเรียนรู้ทั้งหมดผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ทุกขั้นตอน ทำให้ผู้เรียนมีคะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์หลังเรียน (20.00±1.47) สูงกว่าคะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียน (6.36±2.91) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยยกระดับความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์จากระดับอ่อนไปอยู่ในระดับดีมาก ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (<g> = 0.77) และคะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์หลังเรียนทั้ง 2 ครั้งไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีความคงทนในการเรียน นอกจากนี้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์นี้มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.27/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ (80/80) โดยสามารถยกระดับความ สามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้คลอบคลุมทั้งการวิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์หลักการ
คำสำคัญ: ความสามารถการคิดวิเคราะห์ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์ ความคงทนของความรู้
Abstract
This research aimed to compare grade 10 students’ analytical thinking abilities before and after using science inquiry learning model emphasizing on analytical thinking. In addition, students’ learning improvement, retention, and effectiveness of the science inquiry instruction were also analyzed. Research methodology comprised of the pretest, learning management with a 12-hour lesson plan emphasizing on a 5-learning step, i.e., engagement, exploration, explanation, discussion, and evaluation. After that, posttest were done twice as follows: the first was held after finished the lesson, and another was investigated two weeks after the whole lesson finished. The results revealed that the science inquiry learning model emphasizing on the analytical thinking in each inquiry steps allowed students to make their posttest scores of analytical thinking ability exam (20.00±1.47) to be higher than those of the pretest scores (6.36±2.91) at a significance level of .05. By which, the students’ analytical thinking abilities were enhanced from a low level to a very good level. The students had learning improvement at a high level (<g> = 0.77), and there are no difference between two posttest scores at a significance level of .05, meaning that students had retention of their knowledge. In addition, the science inquiry learning instruction emphasizing on an analytical thinking had the effectiveness (E1/E2) at 84.27/83.33 which is higher than the standard criterion (80/80). It was able to improve students’ analytical thinking abilities in component, relationship, and principle.
Keywords: Analytical thinking ability, Science inquiry approach, Retention
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรรณิการ์ กวางคีรี. (2555). การพัฒนาทักษะการ คิดวิเคราะห์และความเข้าใจที่คงทนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. Veridian E-Journal, SU 5(1): 255–270.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). รายงานการสังเคราะห์แนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นุชศรา ชุมมินทร์ และสุภาพร พรไตร. (2557). การยกระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 5(2): 55–67.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน 36(2): 188–204.
ธวัช ยะสุคำ. (2553). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและทักษะการคิดเชิงวิพากษ์เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใช้กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตร์ศึกษา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
พิกุล แผนสุพัด และสุภาพร พรไตร. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2(2): 78–87.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2543). ข้ออ่อนด้อยของงานวิชาการในระบบอุดมศึกษาไทย. อนุสารอุดมศึกษา 26(1): 14–17.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2550). สรุปผลการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถาน-ศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รอบแรก พ.ศ. 2544–2548). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สิทธิพล อาจอินทร์. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารวิจัย มข. 16(1): 72–82.
สิริกาญจน์ ธนวุฒิพรพินิต. (2553). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 . วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2555). โครงงานฐานวิจัย: กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุนีย์ คล้ายนิล ปรีชา เดชศรี และอัมพลิกา ประโมจนีย์. (2550). การวัดผลประเมินผลเพื่อคุณภาพการเรียนรู้และตัวอย่างข้อ-สอบจากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA). กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้ง.
สุภาพร พรไตร. (2555). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา. อุบลราชธานี: ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สุภาพร พรไตร. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์. วารสารหน่วยวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 5(1): 11–20.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
Custers, E. J. (2010). Long–term retention of basic science knowledge: A review study. Advances in Health Science Education 15: 109–128.
Dresner, M., Catherine, R., Kerissa, K. F., and Heejun, C. (2014). Improving higher–order thinking and knowledge retention in environmental science teaching. Bioscience 64: 40–48.
McDonald, G. (2012). Teaching critical and analytical thinking in high school biology. The American Biology Teacher 74(3): 178–181.
National Research Council [NRC]. (2000). Inquiry and the National Science Education Standards: A Guide for Teaching and Learning. Washington D.C.: National Academy.
Nuangchalerm, P., and Thammasena, B. (2009). Cognitive and learning satisfaction of second grade students learned through inquiry–based learning. Asian Social Science 5(1): 82–87.
Proulx, G. (2004). Integrating scientific method and critical thinking in classroom debates on environmental issues. The American Biology Teacher 66(1): 26–33.
Schmid, S. and Bogner, F. X. (2015). Does inquiry–learning support long–term retention of knowledge? International Journal of Learning, Teaching and Educational Research 10(4): 51–70.