การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี
Main Article Content
Abstract
Porntip Muangkeaw, Karntarat Wuttisela and Pornpan Pungpo
รับบทความ: 10 เมษายน 2553; ยอมรับตีพิมพ์: 11 พฤษภาคม 2553
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรื่องไฟฟ้าเคมีด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบการสร้างผลสัมฤทธิ์ของทีม แบบกลุ่มแข่งขัน แบบกลุ่มร่วมมือและแบบต่อบทเรียน 2) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบแผนการวิจัยที่ใช้คือ การทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเรื่องไฟฟ้าเคมี แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าที กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษา พบว่า (1) ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เท่ากับ 80.98/81.41 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (2) ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 (3) ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.70 (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมืออยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบร่วมมือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไฟฟ้าเคมี
Abstract
This research aimed to 1) enhance student learning outcomes in electrochemistry with cooperative learning activities using Student Teams Achievement Division (STAD), Teams-Game-Tournament (TGT), Learning Together (LT), and Jigsaw; 2) create the lesson plans of cooperative learning process based on the efficient standard 80/80; and 3) survey the students’ satisfaction towards cooperative learning activities. A one-group pretest-posttest experimental design was conducted. Forty six of 12-grade students at Lukhamhan warinchamrab school, Ubonratchathani were participated during the first semester of academic year 2009. The research tools consisted of lesson plan of cooperative learning approach, achievement test, and questionnaire. The collected data were analyzed by mean, mean percentage, effectiveness index, and t-test for dependent samples. The findings were as follows: (1) the efficiency of the learning activity was 80.98 /81.41, which was higher than the standard criterion; (2) the students’ achievement scores after learning with cooperative learning method was higher than those before learning with this method at the .05 significance level; (3) the average percentage of progression was about 53.70%; (4) most of students were fairly satisfied with this learning management.
Keywords: Cooperative Learning, Learning Outcomes, Electrochemistry
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ ด่านสุทธาการพิมพ์.
ฝ่ายวิชาการโรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ. (2551). รายงานผลการเรียนปีการศึกษา 2551. โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ.
ฝ่ายวิชาการโรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ. (2552). รายงานผลการเรียนปีการศึกษา 2552. โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ.
วิทวัส ดวงภุมเมศ. (2548). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน): มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมทรง สิทธิ. (2553). ฐานความรู้หลักสูตรและการสอนวิทยาศาสตร์. เข้าถึงได้ที่ http://pirun.ku.ac.th/ ~g4786027/08/index.html
สวรส ผลเล็ก. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 เทคนิค. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภาพ แป้นดี. (2550). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีและความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์เคมี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (วิทยาศาสตรศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา.
เสาวลักษณ์ น้อยอาษา. (2547). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน): มหาวิทยาลัยสารคาม.
Balfakih, N.M.A. (2003). The effectiveness of student team-achievement division (STAD) for teaching high school chemistry in the United Arab Emirates. Inter. J. Sci. Educ. 25(5): 605-624.
Doymus, K. (2007). Effects of a Cooperative Learning Strategy on Teaching and Learning Phases of Matter and One-Component Phase Diagrams. J. Chem. Educ. 84(11): 1857.
Jordan, D. and Le Metaias, J. (1997). Social skilling through cooperative learning. Educ. Res. 39: 3-21.
Slavin, R. (1996). Research on cooperative learning and achievement: What we know, what we need to know. Contemp. Educ. Psychol. 21: 43-69.
Towns, M.H. and Grant, E.R. (1997). I believe I will go out of this class actually knowing something: Cooperative learning activities in physical chemistry. J. Res. Sci. Teach. 34(8): 819- 835.
Webb, N., Troper, J., and Fall, R. (1995). Constructive activity and learning in collaborative small groups. J. Educ. Psychol. 87: 406 - 423.