อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อพฤติกรรม การใช้บริการโมบาย แบงค์กิ้ง กรณีศึกษา: เขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
Keywords:
ส่วนประสมทางการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค โมบาย แบงค์กิ้งAbstract
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ใช้ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบาย แบงค์กิ้ง และ 2) เพื่อสร้างแบบจำลองเชิงเส้นแสดงอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบาย แบงค์กิ้ง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่ความเชื่อมั่น 95% เก็บข้อมูลจำนวน 707 ชุด ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับมาก (= 4.05) เมื่อจัดผู้ใช้ตามกลุ่มอายุเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มวัยเกษียณ เพื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบ Scheffe พบว่า กลุ่มวัยเรียนและกลุ่มวัยทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบนำตัวแปรทั้งหมดเข้าสมการ พบว่า ด้านราคามิได้มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบาย แบงค์กิ้ง ดังนั้น แบบจำลองเชิงเส้นที่ประกอบด้วยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .752 สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการใช้บริการโมบาย แบงค์กิ้งได้ร้อยละ 56.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อย่างไรก็ดี ช่วงอายุที่แตกต่างมีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ จากวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบลดตัวแปร พบว่า ด้านราคามิได้มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบาย แบงค์กิ้งของกลุ่มวัยเรียนกับกลุ่มวัยทำงานร่วมกับด้านบุคคล และด้านกระบวนการ ตรงข้ามกับด้านการส่งเสริมการตลาดที่มิได้ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการของกลุ่มวัยเกษียณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ