การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็ก ที่มีภาวะออทิซึม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กออทิสติกอายุ 8 - 10 ปี ที่มีพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กล่าช้า และเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหลังหลังจากการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กอออทิสติก อายุ 8 - 10 ปี ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าอยู่ในกลุ่มภาวะออทิสซึม (Autism) ที่มีระดับพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กล่าช้า เทียบเท่าเด็กช่วงอายุ 4 - 6 ปี จำนวน 5 คน เลือกโดยวิธีเจาะจง (purposive sampling) วัดจากแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 16 แผน ระยะเวลาสัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 1 ชั่วโมง รวมระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ 2) แบบบันทึกพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ 5 ด้าน ได้แก่ ความคล่องแคล่ว ยืดหยุ่น แม่นยำ การใช้มือทั้ง 2 ข้าง และการใช้ประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตา 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ (t-test) แบบ Dependent Sample ผลการวิจัย พบว่า เด็กออทิสติกที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยรวมสูงกว่า ก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
How to Cite
บุบผศิริ ณ., & ภู่จีบ ณ. (2023). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็ก ที่มีภาวะออทิซึม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/14566
Section
บทความวิจัย (Research Articles)