สัมพันธบทการเล่าเรื่องของละครโทรทัศน์รีเมกเรื่องคู่กรรม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สัมพันธบทในการเล่าเรื่องของการผลิตละครโทรทัศน์รีเมก เรื่อง คู่กรรม2) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการผลิตละครโทรทัศน์รีเมกเรื่อง คู่กรรม และ 3) รูปแบบการสื่อสารการตลาดของละครโทรทัศน์เรื่องคู่กรรม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากวิเคราะห์เนื้อหาและการสัมภาษณ์ ซึ่งวิเคราะห์เนื้อหาของละครโทรทัศน์เรื่อง คู่กรรม ทั้ง 3 เวอร์ชั่น (พ.ศ. 2533, พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2556) โดยใช้แนวคิดการเล่าเรื่องวิเคราะห์จากการชมละครเพื่อเปรียบเทียบลักษณะสัมพันธบท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้กำกับละครโทรทัศน์และผู้เขียนบทจำนวน 3 คน และผู้ชมละครโทรทัศน์เรื่อง คู่กรรม ทั้ง 3 เวอร์ชั่น จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะสัมพันธบทในการเล่าเรื่องของการผลิตละครโทรทัศน์เรื่องคู่กรรม ทั้ง 3 เวอร์ชั่น มีการคงเดิม องค์ประกอบหลัก ได้แก่ โครงเรื่อง แก่นของเรื่อง ความขัดแย้ง ลักษณะเด่นของตัวละคร ฉากส่วนใหญ่ สัญลักษณ์พิเศษ และมุมมองการเล่าเรื่อง มีการขยายความลักษณะตัวละครร้ายเพิ่มเติม และเพิ่มความขัดแย้งในคู่กรรมเวอร์ชั่น พ.ศ. 2547 มีการตัดทอนเนื้อหาความขัดแย้งออกในคู่กรรมเวอร์ชั่น พ.ศ. 2556 และมีการดัดแปลงการเปิดเรื่องในเวอร์ชั่น พ.ศ. 2547 2) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการผลิตละครสร้างซ้ำในลำดับมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านธุรกิจทางการตลาด ปัจจัยด้านความชื่นชอบในบทประพันธ์ของผู้ผลิต และปัจจัยสภาพแวดล้อมและสังคมในช่วงเวลาที่มีการผลิตละคร ตามลำดับ 3) รูปแบบการสื่อสารการตลาดของละครโทรทัศน์เรื่องคู่กรรม พบว่า เวอร์ชั่น พ.ศ. 2533 และ พ.ศ. 2547 เป็นการใช้สื่อรูปแบบเดิม ได้แก่ โทรทัศน์ หนังสือ นิตยสาร และป้ายโฆษณาเป็นหลัก ส่วนเวอร์ชั่น พ.ศ. 2556 ที่มีการใช้สื่อรูปแบบใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ เว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ชมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย AbstractThe purposes of this research were to analyze 1) the narrative intertextuality of the televisiondrama’s remake, Khῡ Kam, 2) the factors affecting the production of these remakes and 3)the pattern of marketing communication of the remake. The research was qualitative methodsthrough analysis of the drama and interviews. The researcher analyzed three versions ofKhῡ Kam (1990, 2004, 2013) by using narrative theory to compare the narrative intertextuality’scontribution. The interviewing subjects included 3 directors and story writers and 10 audiencesof three versions. The results revealed as follows: 1) All three versions of intertextuality’sfeatures still remained but there were extension of main composition as plot, theme, conflict,remarkable feature of the characters, main scenes, special symbols, and narrative mode asdetails in antagonists and issues of conflict in version 2004. However, the extension of conflictin version 2004 was cut down in version 2013 and there were adaption of the opening scene inversion 2004, 2) Regarding to the factors of the remake, they mostly were marketing business,producer’s author fondness, and social and environment during the period of the remake,respectively, 3) Pattern of marketing communication were mainly traditional media such astelevision, magazine, billboard for version 2004 and 2004, except there were new media such asinternet and social network due to audience’s changing behavior in version 2013.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
มันตลักษ์ ร., ปัญญโสภณ ธ., & หาญพงษ์พันธ์ พ. (2017). สัมพันธบทการเล่าเรื่องของละครโทรทัศน์รีเมกเรื่องคู่กรรม. บรรณศาสตร์ มศว, 9(1), 29–44. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/8377
Section
Research Articles