การจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

สุจิตรา สีหาอาจ
สมชาย วรัญญานุไกร
ศุมรรษตรา แสนวา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หัวหน้าแผนกงานบริการสารสนเทศ จำนวน 20 คน และผู้ใช้บริการ จำนวน 100 คน ของห้องสมุดมีการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกทั้งห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบผลการวิจัย ดังนี้ 1. ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามีสภาพการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การบริการสารสนเทศเชิงรุกที่มีการปฏิบัติในระดับมาก ได้แก่ บริการสอนการรู้สารสนเทศ บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการสืบค้นข้อมูล บริการค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามคำขอ และบริการยืมระหว่างห้องสมุด ตามลำดับ ส่วนการบริการสารสนเทศเชิงรุกที่มีการปฏิบัติในระดับน้อย ได้แก่ บริการตรวจสอบค่าความถี่ของการถูกอ้างถึง บริการคืนนอกสถานที่ และบริการบรรณารักษ์พบนักวิจัย 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุก ได้แก่ 1) แผนการบริการผู้ใช้บริการ พบว่า ห้องสมุดมีการวางแผนการบริการผู้ใช้บริการโดยจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกตามความต้องการของผู้ใช้บริการ 2) การเน้นผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง พบว่า ห้องสมุดให้ความสำคัญของผู้ใช้บริการเป็นหลัก โดยศึกษาความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการเพื่อจัดบริการสารสนเทศให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ 3) การมีจิตสำนึกในการบริการ พบว่า ผู้ให้บริการมีใจพร้อมบริการ มีความกระตือรือร้น พูดจาสุภาพ มีอัธยาศัยดี 4) ผู้ให้บริการ พบว่า ผู้ให้บริการมีความรู้ ความสามารถ ทักษะความชำนาญด้านต่างๆ 5) ทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า ห้องสมุดมีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัลที่ทันสมัย และ 6) เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ห้องสมุดมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และช่องทางการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ3. ปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุก คือ ความไม่มีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) แผนการบริการผู้ใช้บริการ พบว่า การประชาสัมพันธ์การจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกยังไม่ทั่วถึง 2) การเน้นผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ไม่มีทักษะการสืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านภาษาต่างประเทศ 3) ผู้ให้บริการ พบว่า ห้องสมุดขาดแคลนกำลังคน ขาดทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะวิชา ขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ พบว่า ฐานข้อมูลออนไลน์มีไม่เพียงพอและไม่ครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทรัพยากรสารสนเทศล้าสมัย และ 5) เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า การสืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศนอกสถานที่มีปัญหาด้านเทคโนโลยีการเข้าถึงกรณีที่ผู้ใช้เข้าใช้จากที่บ้านต้องมีบัญชีผู้ใช้ในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารสนเทศThis research aims to study factors that affect success problems and obstacles in the provision of proactive information services of libraries in higher education institutions. The instruments used in the study were questionnaires and interviews. The research population included twenty head of information service department and one hundred twenty subscribers of the library. Statistics used in data analysis were percentage, mean and standard deviation. 1. The research found that the library of higher education institutes had aggressive information service activities at a moderate level. When classified, the most common proactive information service activities included. The following: information literacy, reference service, information research service, e-request and interlibrary loan services, respectively. For the provision of proactive information services for under-performing universities, the impact factor, the book drop and the library advised the researchers. 2. Factors affecting success in proactive information service of library in higher education: 1) service plans for users: The library plans to provide user services by providing proactive information services to users; 2) focus on user-centric services: the library is very important to the users. to study the information needs of users to provide information services to meet the needs of users; 3) consciousness in service: the service is ready to serve have enthusiasm, polite, courteous; 4) service providers: the service providers have the knowledge, skills, expertise; 5) information Resources: the library has been providing information resources in both print and digital media formats; and 6) information technology: The library has developed information technology. And access to information resources. 3. The problems and obstacles in the provision of proactive information services in the libraries of higher education institutions are inefficiencies in the following areas: 1) service plans for users: the library's promotion of information services is not proactive; 2) focus on user-centric services: the majority of users were unskilled information technology skills foreign language skills; 3) service providers: the library was lacking. lack of skills and expertise in specific fields lack of foreign language skills and use of information technology; 4) information Resources and: online databases are insufficient and do not cover all disciplines outdated information resources; and 5) information technology: on-site resource information access issues access technology issues where users are accessing from home requires an account to access information resources.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สีหาอาจ ส., วรัญญานุไกร ส., & แสนวา ศ. (2018). การจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. บรรณศาสตร์ มศว, 11(1), 92–104. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/10139
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)

1 2 > >>