ความคิดเห็นของผู้ใช้และผู้ให้บริการต่อการใช้ส่วนประสมการตลาด ในการบริการของหอสมุดแห่งชาติ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้และผู้ให้บริการต่อการใช้ส่วนประสมการตลาดในการบริการของหอสมุดแห่งชาติ เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อการใช้ส่วนประสมการตลาดในการบริการของหอสมุดแห่งชาติกับตัวแปร เพศ สถานภาพบุคคล และเขตที่พักอาศัย และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ให้ บริการต่อการใช้ส่วนประสมการตลาดในการบริการของหอสมุดแห่งชาติตาม เพศ ตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ใช้บริการ จำนวน 422 คน และผู้ให้บริการ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และF-test รวมทั้งทดสอบสมมติฐานรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé’s method) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นต่อการใช้ส่วนประสมการตลาดในการบริการระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ใช้บริการเห็นด้วยมากกว่าผู้ให้บริการ ส่วนการเปรียบเทียบการใช้ส่วนประสมการตลาดกับตัวแปรต่าง ๆ พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการใช้ส่วนประสมการตลาดในการบริการของหอสมุดแห่งชาติโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ใช้บริการที่มีเขตที่พักอาศัยต่างกันมีความคิดเห็นต่อการใช้ส่วนประสมการตลาดในการบริการของหอสมุดแห่งชาติโดยรวมไม่แตกต่างกัน ผู้ใช้บริการที่มีสถานภาพบุคคลต่างกันมีความคิดเห็นต่อการใช้ส่วนประสมการตลาดในการบริการของหอสมุดแห่งชาติ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 โดยผู้ใช้บริการที่เป็นนักเรียนและผู้ใช้บริการที่เป็นนักศึกษาเห็นด้วยมากกว่าผู้ใช้บริการที่เป็นประชาชน ผู้ให้บริการที่มีเพศ ตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการใช้ส่วนประสมการตลาดในการบริการของหอสมุดแห่งชาติไม่แตกต่างกัน This research aims to study comments of users and providers to employ the marketing mix in the service of the National Library of Thailand in comparison with user comments regarding the marketing mix in the service of the National Library of Thailand, according to variables such as gender, the status of individuals and residential areas and to compare the comments of providers regarding the marketing mix in the service of library, according to variables including gender, job position and work experience. The samples used in this study include 422 users and 50 providers. The questionnaires are used as instruments to collect data. The statistics used for data analysis include: average, percentage, standard deviation, t-test and F- test value. In the case of significant statistical differences, a double-difference test with Scheffé method is used. The results showed that; Overall comments regarding the use of the marketing mix in the service of the National Library of Thailand between users and providers are significantly different at a statistical level of .05. Users agree to such applications more than providers. Users of different genders have different comments about the use of the marketing mix in the service of the National Library of Thailand with a statistical significance level of .05. Users from different residential areas have no difference in levels of comments on the use of the marketing mix in the service of the National Library of Thailand. Users with different levels of personal status have different comments regarding the use of the marketing mix in the service of the National Library of Thailand at a statistically significant level of .05. Student users agree to such applications more than public users. Providers with of different genders, job positions and work experiences have no differences in comments about the use of the marketing mix in the service of the National Library of Thailand.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
อิทธิชัยวัฒนา ย., แสนวา ศ., & วรัญญานุไกร ส. (2018). ความคิดเห็นของผู้ใช้และผู้ให้บริการต่อการใช้ส่วนประสมการตลาด ในการบริการของหอสมุดแห่งชาติ. บรรณศาสตร์ มศว, 11(1), 1–13. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/10133
Section
Research Articles