ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เปรียบเทียบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำแนกตามตัวแปร กลุ่มงานและประสบการณ์ทำงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยใช้กรอบแนวคิดความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เชิงระบบของมาร์ควอดต์และทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเฮอร์ซเบอร์ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ 24 แห่ง จำนวน 544 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ F-test และค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการปฏิรูปองค์การ 2) การเปรียบเทียบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับตัวแปรกลุ่มงาน และประสบการณ์ทำงาน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่มีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงและมีคะแนนสูงที่สุด คือ ด้านการเอื้ออำนาจให้แก่บุคคล รองลงมา คือด้านพลวัตการเรียนรู้ ด้านการปฏิรูปองค์การ ด้านการจัดการความรู้ ตาม ลำดับ ส่วนด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี พบว่า มีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง The purpose of this research was three-fold: 1) to study public university libraries as learning organizations; 2) to compare public university libraries in terms of the classification of group work and work experience; 3) to study the relationship between work motivation and the five distinct subsystems of learning organization in public university libraries in accordance with Herzberg’s dual factor theory and Marquardt’s concept of Learning Organization. Five-rating scale questionnaire was used as an instrument to collect data from 544 librarians, currently employed in 24 public university libraries. Then data were analyzed and presented by percentage, means, standard deviation, F-Test, and Pearson’s Product-Moment Correlation. The results of the research were as follows: 1) an overview of the opinions regarding learning organization of public university libraries was at a high level as well as those of the five distinct subsystems of learning organization. The highest level was identified in terms of the aspect of technology application, while organizational transformation was at the lowest level in terms of learning organization; 2) There was no significant difference among those of opinion between the samples according to their group work and work experiences; 3) The overall correlation between working motivation and public university libraries as learning organization was statistically significantly at a level of 0.05 and positive correlated at a high level. People empowerment showed the highest work motivation followed by learning dynamics, organization transformation and knowledge management, respectively. Even though the application of technology was found to have the lowest relationship to work motivation, it was still ranked at a medium level.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
หมอนทอง ว., แสนวา ศ., & พันธุ์เมฆา พ. (2018). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. บรรณศาสตร์ มศว, 10(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/9944
Section
Research Articles